หน้า:ประชุมกฎหมายประจำศก (๐๘) - ๒๔๗๘.pdf/236

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๑๙

เพราะฉนี้ จึงทรงพระราชดำริห์เปนปานกลางภอจะได้ให้เปนทางเข้าใจรู้ศึกตัวไว้บ้างที่จะได้เลือกจ้างคนที่เกิดปีมโรงเปนต้นไว้ใช้ภอเข้าใจเสียก่อน จึงมิได้ทรงพระราชดำริห์เลิกถอนโดยเร็วแขงแรงเหมือนเมื่อครั้งคิดกันมาแต่แรกบรมราชาภิเศกว่า จะให้นายเงินลดค่าตัวให้แก่ทาษละกึ่งตำลึงนั้น ถ้าคิดดู ที่จะดังนี้ปีหนึ่งเปนเงิน ๖ ตำลึง ทาษค่าตัวถัวธรรมดาคนละ ๒ ชั่ง คิดดู ๗ ปีเสศ ทาษก็จะต้องเลีกหมดไปโดยเร็ว ผู้ที่ช่วยไถ่มีทาษไว้แต่เดิม ก็จะได้ความลำบากยากแค้นเปนอันมาก เหมือนผู้อยู่ที่อันสบายกลับกลายมาถูกร้อนโดยเร็ว ก็คงจะไม่สบายไปต่าง ๆ แล้วก็เปนทางที่ขาดทุนเสียทรัพย์ของผู้ที่ช่วยไถ่ไว้แต่เดิมนั้น จึงทรงผ่อนผันแต่เรื่องลูกทาษที่ไม่เปนการขาดทุนสิ่งใด เพราะทรงหวังตั้งพระราชหฤไทยแต่ให้เปนคุณเปนประโยชน์ ไม่ทรงอยากให้เปนโทษได้ความเดือดร้อนรำคาญต่าง ๆ จึงได้ทรงไว้เปนปานกลางภอให้เปนหนทางที่จะได้ใช้ลูกจ้างบ้างใช้ทาษบ้างรคนปนกันภอเคยใจไว้ เพราะไม่ทรงอยากให้เจ้าของทรัพย์ขาดทุนเดิมสิ่งใดให้เปนที่ร้อนใจรำคานในการซึ่งทรงพระราชดำริห์นี้ กับอนึ่ง ทาษไพร่ใจพาลสันดานข้าก็ยังไม่รู้จักที่จะทำมาหากินสิ่งไร จึงต้องผ่อนหย่อนไปให้ภอให้อาไศรยนายเงินได้กินอยู่นุ่งห่มไปพลาง ๆ ก่อนกว่าบุตรหลานจะได้หลุดถอนพ้นค่าตัวไปได้วิชาสิ่งไรภอรับจ้างหากินมีทรัพย์สินมาช่วยรับใช้แบ่งไถ่ให้บิดามารดาพ้นค่าหลุดเปนไทยไปได้บ้าง เปรียบเหมือนอย่างบิดาคนหนึ่ง มารดาคนหนึ่ง บุตร ๓ คน ถ้าบุตรหลุดพ้นไปได้ คงคิดเบี่ยงบ่ายรับจ้างหาเงินมาช่วยไถ่บิดามารดาไปให้เปนไทยได้ ก็คงช่วยกันซื้อขายทำมาหากินต่อไป