หน้า:ประชุมกฎหมายประจำศก (๐๘) - ๒๔๗๘.pdf/30

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๑

หากินมีทรัพย์สิ่งสินก็บริบูรณ์มากกว่าแต่ก่อน อาณาประชาราษฎรก็เปนปรกติมีความศุขสบาย ผู้ที่มีทรัพยให้กู้ขายแลรับจำนำ ถ้าเงินมาก ก็เอาดอกเบี้ยแต่เพียงชั่งละบาทบ้าง สองสลึงบ้าง ถึงมีผู้มากู้เงินหลวงไปทำทุนค้าขายใช้สอย ก็ลดหย่อนดอกเบี้ยเอาแต่ชั่งละบาทบ้าง สองสลึงบ้าง เจ้าหนี้ที่ให้กู้ขายจำนำดอกเบี้ยแต่น้อยนั้นเหมือนมีส่วนหุ้นเข้าทุนกันค้าขายมีกำไรได้ดอกเบี้ยเปนประโยชน์ทั้งสองฝ่าย แต่ทาษลูกหนี้ที่เสียดอกเบี้ยแพง ชั่งละห้าบาท ตำลึงหนึ่ง สามบาท สิบสลึง กึ่งตำลึงนั้น ไม่มีเงินจะเสีย คิดฉ้อต่อสู้เจ้าหนี้นายเงินด้วยอุบายต่าง ๆ จะตัดสินให้ทาษลูกหนี้เสียเงินให้แก่เจ้าหนี้นายเงินตามสัญญามาก ๆ น้อย ๆ นั้น หาเปนยุติธรรมไม่ จึ่งได้ตัดสินให้ลดหย่อนผ่อนดอกเบี้ยลงบ้าง ให้ตีลดสินไหมลดพิไนยแลดอกเบยบ้าง ให้ส่งไปใช้การหลวงโรงสีปีหนึ่งแล้วคืนไปให้แก่เจ้าหนี้นายเงินบ้าง ความทาษลูกหนี้วิวาทกันด้วยดอกเบี้ยยังชุกชุมค้างโรงศาลมีอยู่โดยมาก จึ่งมีพระประสาสน์สั่งให้ขุนหลวงพระไกรศรีชุมนุมลูกขุนณศาลหลวงเชิญกฎหมายเดิมมาดูให้แต่งเปนหมายประกาศพระราชบัญญัติขึ้นใหม่สำหรับไว้ตัดสินคดีเจ้าหนี้นายเงินทาษลูกหนี้ต่อไป

ข้าพระพุทธเจ้า พระมหาราชครูปโรหิตาจารย์ พระมหาราชครูมหิธร พระยามนูเนติบรรหาร พระยามนูสารสาตรบัญชา พระศรีสังขกร หลวงเทพราชธาดา หลวงธรรมสาตร หลวงอัธยา หลวงศรีมโหสถ ๑ ขุนไชยอาญา ขุนจินดาภิรมย์ พร้อมกันเชิญกฎหมายเดิมมาดู มีว่า

ทวยราษฎรกู้หนี้ถือสินแก่กันแต่ตำลึงขึ้นไป ให้มีกรมธรรมแกง-