หน้า:ประชุมกฎหมายประจำศก (๑๔) - ๒๔๗๘.pdf/210

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๙๔

จะได้ถามผู้ต้องหาว่า จะมีประสงค์ที่จะมีคำคัดค้านท้วงติงคำพยานอันพึงได้ให้การเปนผิดต่อผู้ต้องหานั้นประการใดบ้าง แต่ห้ามไม่ให้ขัดขวางพยานผู้ซึ่งเบิกความอยู่นั้น ผู้ต้องหาฤๅทนายของผู้ต้องหานั้นจะซักไซ้ถามพยานก็ได้แต่โดยร้องขอให้อธิบดีศาลถาม เมื่อพยานให้การแล้ว แลจะว่ากล่าวคัดค้านตัวพยานมากเท่ากับว่ากล่าวทักท้วงคำของพยานนั้นก็ได้เหมือนกัน ตามแต่ที่จะกล่าวเพื่อเปนประโยชน์ในการต่อสู้คดีของผู้ต้องหานั้น อธิบดีศาลก็ซักถามพยานฤๅผู้ต้องหาได้ สำหรับที่จะให้ได้ความซึ่งอธิบดีศาลเห็นว่า จำเปนจะให้ความจริงปรากฎชัดเจนนั้นด้วย ผู้พิพากษาทั้งหลายก็ดี พนักงานผู้เปนทนายแผ่นดินก็ดี มีอำนาจที่กล่าวถามได้ตามที่อธิบดีจะยอมอนุญาตให้กล่าวนั้น

 ในระหว่างเวลาชำระความอยู่นั้น อธิบดีศาลจะฟังคำพยานทั้งหลาย แลพิจารณาคำหาทั้งปวง ซึ่งปรากฎแก่อธิบดีศาลว่า เปนการจำเปนจะต้องไต่สวนให้ความจริงปรากฎชัด

๑๐ เมื่อสืบถามพยานเบิกความเสร็จสิ้นแล้ว ก็จงได้ให้กล่าวว่าความแก้ความกันต่อไป พนักงานผู้เปนทนายแผ่นดินจะได้ว่าความก่อน แลจะได้ชี้แจงเหตุการทั้งหลายซึ่งเปนที่อุดหนุนคำฟ้องหานั้นแล้ว ผู้ต้องหาฤๅทนายของผู้ต้องหาจะได้ตอบแก้ความนั้นแล้ว จะยอมให้พนักงานผู้เปนทนายแผ่นดินกล่าวโต้แย้งอีกได้ แต่ผู้ต้องหาฤๅทนายของผู้ต้องหาจะต้องเปนผู้กล่าวแก้ความสู้ความเปนคำหลังที่สุดแล้ว อธิบดีศาลจะได้ประกาศหยุดนั่งศาลกัน

๑๑ อธิบดีศาลจะเปนผู้กะข้อกระทงแถลงตามความที่ชำระได้นั้น