หน้า:ประชุมกฎหมายประจำศก (๑๔) - ๒๔๗๘.pdf/211

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๙๕

สำหรับปรับสัตย์ตัดสิน มีใจความในข้อกระทงแถลงอย่างนี้ว่า ผู้ต้องหามีความผิดโดยกระทำการอย่างนั้น ๆ พร้อมด้วยเหตุการทั้งหลายดังมีในคำฟ้องหานั้น ฤๅไม่มีผิดเปนต้นแล้ว จะได้กะข้อกระทงแถลงที่ว่าด้วยมีเหตุการอันควรลดหย่อนโทษให้เบาลงนั้นฤๅไม่มีด้วย

๑๒ เมื่ออธิบดีศาลได้อ่านข้อกระทงแถลงขึ้นแล้ว ผู้ต้องหาก็ดี ทนายของผู้ต้องหาก็ดี แลพนักงานผู้เปนทนายแผ่นดินก็ดี จะมีคำได้ตามความเห็นของตนที่เห็นสมควรว่าจะต้องมี ในการที่ยกข้อกระทงแถลงไว้อย่างนั้น ถ้าพนักงานผู้เปนทนายแผ่นดิน ฤๅฝ่ายผู้ต้องหาขัดข้องร้องไม่ให้ยกข้อกระทงแถลงอย่างที่กะไว้นั้นแล้ว ศาลจะได้วินิจฉัยตัดสินคำขัดข้องนั้นตามความที่กล่าวผิดแลชอบด้วยแล้ว

๑๓ อธิบดีศาลจะได้มีคำสั่งให้พาตัวผู้ต้องหาไปจากที่ว่าความแล้ว ศาลจะได้เลิกแต่ที่นั้นเข้าไปประชุมในห้องที่ปฤกษากัน เพื่อว่าจะได้ปฤกษาปรับสัตย์ตัดสินในข้อกระทงแถลงแลในการว่าโทษ

ถ้าเปนคดีพิจารณาเห็นว่ามีความผิดแล้ว โทษซึ่งจะได้ลงตามความจริงที่พิจารณาได้ชัดเจนอยู่เสมอนั้นต้องเปนไปตามข้อความที่กล่าวไว้ต่อไปนี้

คือว่า

ข้อ  การทำลายชีวิตมนุษย์อันกระทำด้วยความจงใจ ก็มีโทษเสมอกับความร้ายที่ฆ่าคนให้ตาย

ข้อ  บรรดาความร้ายที่ฆ่าคนตายอันกระทำด้วยคิดตั้งใจไว้ก่อนแล้ว ฤๅด้วยจงใจแล้ว ก็มีโทษเสมอกับการลอบทำร้ายให้เปนอันตรายแก่ชีวิตมนุษย์