ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:ประชุมกาพย์เห่เรือ - ๒๔๖๐.pdf/14

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
(๑๒)

สถานที่ต่าง ๆ ที่เกาะสีชังเมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๔๒๓๓ เปนเหตุให้ทรงคุ้นเคยจนเปนที่สนิทชิดชอบพระราชอัธยาไศรยต่อมาจนตลอดรัชกาล

ในปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๓๕ พระยาราชสงคราม แต่ยังเปนที่ขุนพรหมรักษา ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์มงกุฎสยาม ชั้นที่ ๕ วิจิตราภรณ์ เปนทีแรก แล้วในปีนั้น ได้พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลาเข็มศิลปวิทยาด้วย ต่อมาอิกปี ๑ ถึงปีมเสง พ.ศ. ๒๔๓๖ พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนขึ้นเปนพระราชโยธาเทพ เจ้ากรมทหารในซ้าย แลได้เปนนายงานลงไปอยู่ตรวจการสร้างป้อมพระจุลจอมเกล้า ได้พระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์มงกุฎสยามเลื่อนขึ้นเปนชั้นที่ ๓ มัณฑนาภรณ์ ต่อมา ได้พระราชทานเหรียญราชินีเมื่อปีจอ พ.ศ. ๒๔๔๑ แลได้พระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์ช้างเผือก ชั้นที่ ๔ ภูษณาภรณ์ เมื่อปีกุญ พ.ศ. ๒๔๔๒ ได้พระราชทานเหรียญราชรุจิทองเมื่อปีชวด พ.ศ. ๒๔๔๓

ในปีชวด พ.ศ. ๒๔๔๓ นั้น พระยาราชสงคราม แต่ยังเปนพระราชโยธาเทพ ได้เปนนายงานสร้างพระเมรุสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ได้พระราชทานโต๊ะกาทองคำเปนเกียรติยศ แต่นั้น ก็ได้เปนนายงานสร้างพระเมรุใหญ่จนตลอดรัชกาลที่ ๕

ถึงปีฉลู พ.ศ. ๒๔๔๔ ได้พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนบรรดาศักดิขึ้นเปนพระยาราชสงคราม จางวางทหารใน ได้เปนองค