ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:ประชุมกาพย์เห่เรือ - ๒๔๖๐.pdf/5

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
(๓)

มีประโยชน์เปนสัญญาให้พายพร้อมกัน แลให้เกิดความรื่นเริงพอแก้เหนื่อยได้บ้าง เห่เรือของชนชาติอื่น ๆ มีจีนแลญวนเปนต้นนั้น ที่เขาร้องเล่นลิเกกันก็ได้ยินอยู่ แต่ข้าพเจ้าไม่ได้เอาใจใส่สืบสวน ด้วยไม่เกี่ยวแก่เรื่องที่จะกล่าว จะกล่าวเฉภาะแต่เห่เรือของไทยเรา เข้าใจว่า เห่เรือทุก ๆ อย่างย่อมจะมีมูลเหตุ ซึ่งรู้ได้ในเวลานี้บ้าง รู้ไม่ได้บ้าง ยกตัวอย่างเช่น ขานยาว "เหยอว เย่อว" ที่เราเคยได้ยินอยู่ทั่วกันนี้ เปนเห่อย่างต่ำ มูลเหตุจะมาแต่ไหน แลจะเปนภาษาไร ข้าพเจ้าไม่เคยทราบ จนไปได้เค้าเงื่อนเมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๓๔ เมื่อไปราชการประเทศยุโรป ขากลับโปรดให้มาทางประเทศอินเดีย ได้ไปแวะที่เมืองพาราณสี เขาจัดที่ให้อยู่แห่ง ๑ ต่างฟากแม่น้ำคงคากับรามนครซึ่งเปนที่อยู่ของมหาราชาพาราณสี วันที่ข้าพเจ้าจะไปรามนครนั้น มหาราชาให้จัดเรือขนานมารับข้ามฟาก เปนเรือ ๒ ลำผูกติดกัน ทำเปนมณฑปไว้ข้างท้าย ตั้งเก้าอี้รับแขกไว้ในมณฑปนั้น พอออกเรือพายข้ามแม่น้ำคงคา ฝีพายคนหนึ่งขับร้องเปนภาษาสันสกฤตขึ้นด้วยคำว่า "โอม" แต่คำต่อไปว่ากะไรข้าพเจ้าไม่เข้าใจ ประมาณอักษรสักบาทฉันท์ ๑ พอจบฝีพายก็รับด้วยเสียงดังคล้าย ๆ "เย่อว" ทั้งลำ แล้วต้นบทก็ขึ้นใหม่ ฝีพายรับ เย่อว อิก เห่ไปอย่างนี้จนข้ามถึงท่ารามนคร ข้าพเจ้าถามเขาว่า ฝีพายขับร้องอะไรกัน เขาอธิบายว่า เปนคำขับบูชาพระรามพระลักษณ์ ได้ความเช่นนี้ จึงเห็นว่า เรื่องขานยาว เหยอว เย่อว ของไทยเรานั้น