หน้า:ประชุมกาพย์เห่เรือ - ๒๔๖๐.pdf/8

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
(๖)

ทีนี้ จะว่าถึงตำนานบทเห่เรือต่อไป บทเห่เรือที่พิมพ์ในสมุดเล่มนี้มีตำนานได้ทราบมาดังนี้

 บทเห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ มี ๒ เรื่อง เรื่องที่ ๑ ชมกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ขึ้นต้นแต่ "พระเสด็จโดยแดนชล ทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย" ต่อชมกระบวนเรือ ว่าด้วยชมปลา ชมไม้ ชมนก เปนนิราศ บทเห่เรื่องนี้เห็นได้ในสำนวนว่า เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ทรงนิพนธ์สำหรับเห่เรือพระที่นั่งของท่านเองเวลาตามเสด็จขึ้นพระบาท ออกจากกรุงเก่าเวลาเช้า พอเย็นก็ถึงท่าเจ้าสนุก

บทเห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์เรื่องที่ ๒ นั้นเปนคำสังวาศ เอาเรื่องพระยาครุธลักนางกากีมานำบท ขึ้นต้นว่า "กางกรอุ้มโอบแก้ว เจ้างามแพร้วสบสรรพางค์" แล้วว่าต่อไปเปนกระบวนสังวาศจนจบ ถ้าสังเกตจะเห็นได้ในสำนวนว่า เอาเรื่องจริงอันเปนความขำลับลี้ในพระไทยของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ออกมาว่าตลอดทั้งเรื่อง เรื่องที่ว่านั้นอาจจะรู้ได้ในปัจจุบันนี้ ด้วยมีปรากฎอยู่ในหนังสือพระราชพงษาวดารที่ได้กล่าวถึงเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ลอบผูกสมัครักใคร่กับเจ้าฟ้าสังวาล จึงเข้าใจว่า บทเรื่องหลังนี้ว่าด้วยเรื่องสังวาศเจ้าฟ้าสังวาลทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้ แต่เดิมเห็นจะใช้บทเรื่องนี้เห่แต่เฉภาะเวลาทรงเรือประพาศที่ลับโดยลำพัง เช่น ไปเที่ยวทุ่ง เปนต้น

 บทเห่เรือพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลยนั้น ตั้งแต่ชมกับเข้าของกิน ขึ้นว่า "มัศหมั่นแกงแก้ว