หน้า:ประชุมจดหมายเหตุ สมัยอยุธยา (ภาค ๑) - ๒๕๑๐.pdf/11

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
อนุญาตให้พ่อค้าเดนมาร์คเข้ามาค้าขายยังประเทศไทย
วัน ระกา ตรีศก จ.ศ. ๙๘๓

  1. หนังสือออกพระจอมเมืองศรีราชโกษา ออกหลวงจีนดาราชยุะกบัตร[1]
  2. มาเถิงเรฎ่ดีล่มาส[2] ดว้ยกาปีดตนักราเปรา[3] ดีลมาศ นำเอาส่เพา
  3. ลำนืงเข้ามาซือขายยังท่าเมืองตร่เน่าวศรีม่หาณ่คร แลพ่ณ่
  4. หัวเจ้าท่าน ออกญาไชยาทีบดีศริร่นรงค่ฤไชยอ่ภยพิริยบ่รากรํมภา
  5. หุะ ท่านออกญาตรเนาวศรีมหาณ่คร ก่ให้เลี้ยงดูกาปีดตนัก่รา
  6. เปราดีล่มาศ แลฝารงัผู้มาทงัปวง แลให้กาปีดตนักราเปราดีลมาศ
  7. ซือขายเปนสุดวก[4] ซืงจงักอบ[5] แลริดชา[6] บันดาไดแก่พ่ณ่หัวเจ้า
  8. ท่าน แลริดชาบันดาไดแก่พระหลวงหัวเมืองแลกรํมการยตามทำเนียม
  9. นนั พ่ณ่หัวเจ้าท่านกให้ยกไว้แก่กาปิดตนักราเปราดีลมาศ แลพ่ณ่
  10. หัวเจ้าท่านกให้แตงเส่เบียงการอาหารกนักีนให้แก่การปิตตัน
  11. ก่ราเปราดีลมาศแลฝารังท่หารผู้ทังปวงเลา อ่นืง กีดจ[7] ศุกทุกก่า
  12. ปิดตนักราเปราดีลมาศซืงจปราถ่หน้านนั พ่ณ่หัวเจ้าท่านกให้พระหลวง
  13. หัวเมืองสำเมรศ[8] การซืงกาปิดตันก่ราเปราดีลมาศปราถ่หน้านนัเส่รด[9]
  14. ทุกปร่การ อ่นืง แผนดินเมืองตร่เน่าวศริม่หาณ่คร แลแผนดินเมืองดีล
  15. มาศไส้ เปนแผนดีนเดียวแลว แลฃอเรฎ่ดีลมาศให้กาปิดตนักราเปรา
  16. ดีลมาศแลลูกคาทงัปวงให้ไปมาซือขายอยาไดขาด(มอลสุม แลขอ)
  17. บอกมาให้ชราบ[10] ในวันจันทร เดือนอาย แรมเก้าคำ ร่กา ตรีนิศก[11]

  1. ยุะกบัตร ยุกกระบัตร ยกกระบัตร เป็นคำเดียวกัน แต่เขียนอักขรวิธีผิดกัน
  2. เรฎ่ดีล่มาศ คำนี้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงสันนิษฐานว่า โดยที่ภาษาฝรั่งซึ่งใช้ในสมัยนั้นเป็นภาโปรตุเกส มีความมุ่งหมายที่จะเขียน Rei de Dinamarca ซึ่งแปลว่า พระมหากระษัตริย์แห่งเดนมารค (ดู หนังสือประวัติการทูตของไทย) อนึ่ง คำว่า เรฎ่ดีล่มาศ นี้ บางฉบับเขียนว่า (เรฎ่)ดีลรามาศ หรือ เรธอธีลมาศ ก็มี
  3. กาปิดตัน "กราเปรา" หรือบางฉบับเขียนว่า กาปิดตัน "กรเบศ" นั้น ที่ถูกเป็น กัปตัน "ครัปเป" (ดู หนังสือการทูตของไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา ของ นายสมใจ อนุมานราชธน) และคำว่า "กราเปรา" นี้ บางท่านอ่านว่า กรเบ็ก ก็มี
  4. สุดวก = สะดวก
  5. จังกอบ = ภาษีผ่านด่าน หรือภาษีปากเรือ
  6. ริดชา = ฤๅชา คือ ค่าธรรมเนียม
  7. กิดจ = กิจ
  8. สำเมรศ = สำเร็จ
  9. เส่รด = เสร็จ
  10. ชราบ = ทราบ
  11. ร่กา ตรีนิศก = จ.ศ. ๙๘๓ (พ.ศ. ๒๑๖๔)