หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑๖) - ๒๔๗๕.pdf/14

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๐

นโรดมออกไปทางเรือขึ้นที่เมืองกำปอดไปณเมืองอุดงมีไชย กองทัพเจ้าพระยามุขมนตรีก็เลิกกลับเข้ามาณกรุงเทพฯ

ถึงปีกุน เบญจศก (พ.ศ. ๒๔๐๖) จึงโปรดเกล้าฯ ตั้งองค์พระนโรดมให้เป็นองค์สมเด็จพระนโรดม เจ้ากรุงกัมโพชาธิบดี ครั้นปีชวด ฉศก (พ.ศ. ๒๔๗๐) โปรดเกล้าฯ ตั้งพระคทาธรธรณินทร์ เยีย บุตรพระยาอภัยภูเบศร์ เป็นที่พระยาคทาธรธรณินทร์ เจ้าเมืองพระตะบอง (๗)

คิดลำดับกษัตริย์ซึ่งครองกรุงกัมโพชาธิบดี เจ้าองค์ตนซึ่งเป็นสมเด็จพระอุไทยราชา ที่ ๑ เจ้าองค์รามเป็นสมเด็จพระรามาธิบดี ที่ ๒ เจ้าองค์เองเป็นสมเด็จพระรามาธิบดี ที่ ๓ เจ้าองค์จันทร์เป็นสมเด็จพระอุไทยราชา ที่ ๔ เจ้าองค์มี บุตรหญิงเจ้าองค์จันทร์ ที่ ๕ เจ้าองค์ด้วงเป็นสมเด็จพระหริรักษ์ ที่ ๖ เจ้าองค์ราชาวดีเป็นองค์สมเด็จพระนโรดม ที่ ๗ ลำดับกษัตริย์ครองกรุงกัมโพชาธิบดีสิ้นเท่านี้

เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ แบน ยกจากกรุงกัมโพชาธิบดีตั้งอยู่ณะเมืองพระตะบองเมื่อจุลศักราช ๑๑๕๖ ปีขาล ฉศก (พ.ศ. ๒๓๓๗) ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ ครั้นศักราชได้ ๑๒๐๐ ปีจอ สัมฤทธิศก (พ.ศ. ๒๓๘๑) แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เจ้าพระยาบดินทรเดชาฯ ที่สมุหนายก ออกมาตั้งหลักเมืองก่อกำแพงเมืองพระตะบอง คิดลำดับเจ้าเมืองพระตะบอง เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ แบน ที่ ๑ พระยาพิบูลย์ราช ชื่อ แบน เป็นพระยา