หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑๖) - ๒๔๗๕.pdf/15

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๑

อภัยภูเบศร์ ที่ ๒ พระยาวิเศษสุนทร ชื่อ รศ เป็นพระยาอภัยภูเบศร์ ที่ ๓ พระอุดมภักดี ชื่อ เชด เป็นพระยาอภัยภูเบศร์ ที่ ๔ เจ้าองค์อิ่ม พระมหาอุปราช เป็นเจ้าเมืองพระตะบอง ที่ ๕ พระนรินทรโยธา ชื่อ ฟอง เป็นพระยาอภัยภูเบศร์ ที่ ๖ พระคทาธรธรณินทร์ ชื่อ เยีย เป็นพระยาคทาธรธรณินทร์ ที่ ๗ เมืองพระตะบอง

แต่งต่อมาเมื่อจะพิมพ์หนังสือนี้

ถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เลื่อนเกียรติยศพระยาคทาธรฯ เยีย ขึ้นเป็นเจ้าพระยาคทาธรธรณินทร์เมื่อปีเถาะ ตรีศก (พ.ศ. ๒๔๓๔) เจ้าพระยาคทาธรธรณินทร์ถึงอสัญกรรมปีมะโรง จัตวาศก (พ.ศ. ๒๔๓๕) ทรงตั้งพระอภัยพิทักษ์ ชุ่ม บุตรเจ้าพระยาคทาธรฯ เยีย เป็นพระยาคทาธรธรณินทร์ ผู้ว่าราชการเมืองพระตะบอง นับเป็นที่ ๘ ต่อมาถึงปีวอก พ.ศ. ๒๔๓๙ โปรดให้รวมหัวเมืองเขมร ๔ เมือง คือ เมืองพระตะบอง ๑ เมืองนครเสียมราฐ ๑ เมืองพนมศก ๑ เมืองศรีโสภณ ๑ เข้าเป็นมณฑล เรียกว่า มณฑลบุรพา โปรดให้พระยาศักดาภิเดชวรฤทธิ ดั่น เป็นสมุหเทศาภิบาลคนแรก ต่อมา ทรงตั้งพระยาคทาธรธรณินทร์ ชุ่ม เป็นสมุหเทศาภิบาลรับราชการมาจนรัฐบาลไทยทำหนังสือสัญญากับรัฐบาลฝรั่งเศสยอมคืนหัวเมืองเขมรให้แก่กรุงกัมโพชาเมื่อปีมะแม พ.ศ. ๒๔๕๐ พระยาคทาธรธรณินทร์ ชุ่ม ไม่สมัคไปอยู่กับต่างประเทศ ขออพยพเข้ามาเป็นข้าทูลละอองธุลีพระบาทอยู่ในพระราชอาณาจักร จึงทรงพระ