หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑๖) - ๒๔๗๕.pdf/8

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

พระบรมโพธิสมภารอยู่ณกรุงเทพฯ ฝ่ายสมเด็จพระอุไทยราชาก็ลงเรือพาพระยาพระเขมรไปพึ่งเจ้าเวียดนามเมืองญวนขอกองทัพญวนขึ้นมารักษากรุงกัมโพชาธิบดี ครั้งนั้น หัวเมืองเขมรที่ต่อแดนเมืองพระตะบองคงขึ้นอยู่กับกรุงเทพฯ และที่เมืองโพธิสัตว์ คล้องได้พระยาช้างเผือก พระยาสวรรคโลก ชื่อ เวด เจ้าเมืองโพธิสัตว์ จึงส่งเข้ามาถวายณกรุงเทพฯ พระราชทานนามว่า พระยาเศวตกุญชร พระยาสวรรคโลกมีความรังเกียจสมเด็จพระอุไทยราชา ก็พาครอบครัวเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารณกรุงเทพฯ พระยาพิบูลย์ราชเป็นที่พระยาอภัยภูเบศร์ เจ้าเมืองพระตะบอง ได้ ๕ ปี ถึงแก่กรรมเมื่อปีจอ ฉศก (พ.ศ. ๒๓๕๗) จึงโปรดเกล้าฯ ตั้งพระวิเศษสุนทร รศ บุตรเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ แบน เป็นพระยาอภัยภูเบศร์ เจ้าเมืองพระตะบอง (๓) พระยาอภัยภูเบศร์ รศ เป็นเจ้าเมืองได้ ๑๓ ปี ณปีกุน นพศก (พ.ศ. ๒๓๗๐) ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระยาอุดมภักดี ชื่อ เชด กับพระยาปลัดกรมการเมืองพระตะบอง บอกกล่าวโทษพระยาอภัยภูเบศร์ รศ เข้ามาณกรุงเทพฯ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เอาตัวพระยาอภัยภูเบศร์ รศ เข้ามาตั้งเป็นพระพิพิธภักดีรับราชการณกรุงเทพฯ ตั้งพระยาอุดมภักดี เชด เป็นพระยาอภัยภูเบศร์ เจ้าเมืองพระตะบอง (๔) ต่อมา

ฝ่ายเจ้าองค์สงวน ซึ่งเป็นพระมหาอุปโยราช เข้ามาอยู่ณกรุงเทพฯ ถึงแก่พิราลัย ครั้นณปีมะเส็ง เบญจศก (พ.ศ. ๒๓๗๖) จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชาฯ ที่สมุหนายก เป็นแม่ทัพใหญ่ยกออกไป