หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑๘) - ๒๔๖๒.pdf/28

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๒

ด้วย เมื่อท่านได้รับราชการในตำแหน่งสูงสุดเช่นนี้ พวกบริษัทอินเดียทิศตวันออกเขาพากันพูดถึงท่านว่า "ท่านอรรคมหาเสนาบดีของพระมหากระษัตริย์กรุงสยาม" ตามคำที่พวกบริษัทอินเดียทิศตวันออกเขาว่านั้น กล่าวกันว่า ฟอลกอนได้ออกไปยังเมืองอินเดีย เปนนายครัวเรือของบริษัทลำหนึ่ง เรือลำนั้นชื่อ โฮปเวล แลฟรานซิสเดเวนปอตได้ไปกับท่านด้วย ยอชไวต์นั้นว่า ถ้าไม่เปนกับตัน ก็คงเปนนายดูแลสินค้าเท่านั้น

มีเรื่องราวที่ได้พรรณาถึงอาการกิริยาอัธยาไศรยของฟอลกอนเปนอันมาก ผู้แต่งหนังสือเล่มหนึ่งก็ว่า ฟอลกอน ฤๅเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ เปนคนหละหลวม ปลิ้นปล้อน เจ้าเล่ห์เพโทบาย แลเปนคนกลับกลอกโกงปลิ้นปล้อน ทำอะไรก็ชุ่ย ๆ ใจง่าย ยอมทำทุกอย่างไม่เลือกดีเลือกชั่ว แลลิ้นตวัดง่าย ๆ เที่ยวยุแหย่ข่มเหงก่อโพยไภยมาก แลเพราะเปนคนนิไสยไม่ร้อนรี้ร้อนรนที่จะแสวงทางซึ่งเปนที่สุดของตนโดยอุบายที่ชอบที่สุจริตอันเปนที่เย็น แต่ถึงจะถูกติเตียนปานใดแล้ว ก็ยังต้องยอมว่า ตัวฟอลกอนเปนคนมีสติปัญญา สามารถที่จะกลับให้เปนอย่างไรก็เปนได้ คำพรรณาถึงฟอลกอนที่ผิดกันตรงกับฉบับนี้ก็ยังมีอิกโดยหนังสือของฝรั่งชื่อ กิมป์เฟอ ผู้ซึ่งได้มาเยี่ยมเยียนกรุงศรีอยุทธยาสองปีภายหลังเมื่อท่านฟอลกอนถึงแก่กรรมแล้ว ถูกเวลาเมื่อความฤษยาในการที่ท่านทำราชการตั้งตัวได้สำเร็จดีซึ่งระดมกันรุมล้อมอยู่รอบทุกด้านในขณะยังมีชีวิตอยู่เสื่อมสูญไปเสียหมดแล้ว ยังคงเหลืออยู่แต่ส่วนความดีของท่านอย่างเดียวนั้น กิมป์เฟอ