หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑๙) - ๒๔๖๓.pdf/41

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
๓๔

คาดไว้ว่าจะจับในเวลา ๑๐ นาฬิกา ๔ นาที อากาศแต่นั้นมาค่อยปรกติ เมฆที่ลงมาต่ำหรือเมฆฝน ( นิมบัส ) ก็สูญหายไปหมด และอากาศตอนส่วนสูงสุดในท้องฟ้าก็แจ่มสว่าง แต่เห็นเมฆบางตอนที่เหนือขอบฟ้าขึ้นมา ๓๐ องศา เปนชนิดมีสัณฐานปุยยาวและเปนก้อนโต ( เฟอร์รูสกุมุลัส ) เพราะฉนั้นแสดงให้เห็นเปนที่พอใจว่า อย่างน้อยอากาศคงจะแจ่มอยู่อิกนาน เครื่องมือที่พวกเราพอจะหาเอามาได้ คือ กล้องส่องดูไกลชนิดของคันแคน มีปากช่องกว้าง ๔ นิ้ว หนึ่งกล้อง กล้องส่องดูไกลที่ฉายกลับ มีปากช่องกว้าง ๓นิ้ว กับมีแรงฉายดูได้ ไกลกว้างขวางหนึ่งกล้อง เครื่องกำหนดความหนักเบาของอากาศ ( พาโรเมตร ) สำหรับเขาอย่างประณีตหนึ่งเครื่อง เครื่องอันนิ- รอยด์พาโรเมตรอย่างดีที่สุด ๒ เครื่อง เครื่องวัดความหนาวร้อนขนาดต่าง ๆ กัน ๓ เครื่อง และนาฬิกาอย่างเดินเที่ยงตรง ๑ เรือน น่าที่ซึ่งกะให้ ในคณะส่วนฝ่ายอังกฤษ คือ นายพันตรี แมก-แนร์ กรมทหารปืนใหญ่หลวง เปนผู้ตรวจดูผลของอุปราคาในเวลาใกล้จะหมดดวง หรือถ้าสามารถก็ให้สาวหาสิ่งที่ปรากฎขึ้นในท้องฟ้า ตามที่เรียกว่า เบลลีเบกส จะมีหรือไม่ และให้พรรณ- นาเรื่องสำหรับคราวประชุมของสมาคมดาราศาสตร์ นายร้อยเอก มอยเสย์ กรมทหารช่างหลวง มีน่าที่สำหรับจดเวลาและน่าที่กะ