หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๒) - ๒๔๕๗ b.pdf/6

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

ครั้นพระราชทานเพลิงศพพระยาราชสุภาวดี (ปาล) เสร็จแล้ว ทองคำจึงได้รวบรวมเงินทองซึ่งมีอยู่เล็ก ๆ น้อย ๆ แต่เดิมนั้นมาแต่งงานให้ฟักทองอยู่กินกับหลวงเสนาภักดี คือ พระยาจ่าแสนบดี (เดช) นั้น ตามยากตามจน เปนเงินทุน ๕ ชั่ง สินสอดชั่งหนึ่ง ฟักทองก็ได้อุส่าห์ช่วยสามีทำมาหากินจนกลับมั่งคั่งตั้งตัวได้ดีกว่าพี่น้องทุกคน ที่บ้านของบิดาซึ่งตั้งอยู่ณตำบลสามเพ็งใกล้วัดจักรวรรดิราชาวาศกำลังจะตกไปเปนของผู้อื่นอยู่แล้ว ก็ได้รับซื้อไว้ทั้งสิ้น ซึ่งมีราคาปรากฏณภายหลัง โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงซื้อ ๒ คราวเปนเงิน ๒๘๑๓ ชั่ง ซึ่งได้เปนที่รวบรวมและที่พะพิงอาศรัยของญาติพี่น้องในเวลานั้น ครั้นเลื่อน บุตรีฟักทอง ได้ทำการวิวาหมงคลกับหลวงฤทธินายเวร (พุด เทพหัสดิน) ก็ได้ให้เงินเปนทุน ๕๐ ชั่ง บุตรผู้เกิดแต่ภรรยาน้อยอิก ๖ คนก็ยังได้อุปการะตกแต่งให้ได้มีเย่าเรือนไปทั้งสิ้น

ครั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงได้เสวยราชสมบัติแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเบี้ยหวัดให้ฟักทองได้รับพระราชทานอยู่ในพวกราชินิกูลปีละ ๑๐ ตำลึง แล้วพระราชทานเพิ่มขึ้นเปนลำดับมาจนถึงปีละชั่งหนึ่ง กับได้พระราชทานหีบหมากจุลจอมเกล้าชั้นที่ ๓ ในงานบรมราชาภิเศกครั้งที่ ๒ นั้นด้วย พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงได้ทรงพระมหากรุณาแก่ฟักทองซึ่งเปนผู้ที่สามารถกู้สมบัติและสกูลไว้ได้ มิได้ทำให้ขายใต้ฝ่าลอองธุลีพระบาทนั้น