หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๓) - ๒๔๗๑.pdf/103

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
๙๒

พระยาเชียงใหม่มาได้ ๗ ปีเศษ ลุศักราช ๑๒๑๖ ปีขาลฉศก ณวันแรม ๙ ค่ำเดือน ๒ พระเจ้ามโหตรประเทศถึงแก่พิราไลย จึงมีตราโปรดเกล้า ฯ ขึ้นไปให้พระยาอุปราชพิมพิสาร บุตรพระยาเชียงใหม่คำฟัน ว่าราชการเมือง ก็ถือเปรียบแก่งแย่งกันกับนายน้อยมหาพรหมกิติศัพท์ทราบลงมาถึงกรุงเทพ ฯ ได้ทรงทราบฝ่าลอองธุลีพระบาท จึงทรงพระราชดำริห์ว่า ที่เมืองเชียงใหม่เจ้านายมิได้ประนีประนอมเปนสามัคคีคารวะต่อกัน แลราชการทางเมืองเชียงตุงก็ยังติดพันกันอยู่ซึ่งจะไว้ใจแก่ราชการนั้นมิได้ € ครั้นลุศักราช ๑๒๑๗ ปีเถาะสัปตศก จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยามุขมนตรี (เกด) หลวงวิสูตรสมบัติ (พร้อม) ขึ้นไประงับการที่เมืองเชียงใหม่ แล้วให้ปลงศพพระเจ้ามโหตรประเทศราชาด้วย เจ้าพระยามุขมนตรี หลวงวิสูตรสมบัติ ก็กราบถวายบังคมลาขึ้นไปณเมืองเชียงใหม่ณวัน ๑ เดือน ๔ แรม ๙ ค่ำ เจ้า พระยามุขมนตรี หลวงวิสูตรสมบัติ ขึ้นไปถึงเมืองเชียงใหม่ ก็จัดการบ้านเมืองเรียบร้อยเปนปรกติ เจ้าพระยามุขมนตรี หลวงวิสูตรสมบัติ กับเจ้านายญาติพี่น้อง ช่วยกันปลงศพพระเจ้ามโหตรประเทศราชาเสร็จแล้ว ก็พาตัวพระยาเมืองแก้วหนานสุริยวงษ์ บุตรพระเจ้าเชียงใหม่กาวิละ กับนายน้อยมหาพรหม นายหนานสุริยวงษ์บุตรพระเจ้ามโหตรประเทศราชา พระยาลำพูน พระยาอุปราช เมืองนครลำปาง แลเจ้านายญาติพี่น้องลงมาถึงกรุงเทพ ฯ ณวันเดือน ๗ ขึ้น ๕ ค่ำศักราช ๑๒๑๘ ปีมโรงอัฐศก แต่พระยาอุปราชพิมพิสารป่วย