หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๓) - ๒๔๗๑.pdf/117

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
๑๐๖

แล้วพระยาจ่าแสนบดี พระสุริยภักดี ก็พาตัวเจ้าอุปราช เจ้าราชบุตรเมืองเชียงใหม่ เจ้าอุปราชเมืองนครลำปาง เจ้านายบุตรหลานทั้งสองเมืองลงมาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท แต่เจ้าราชบุตรเมืองเชียงใหม่ลงมาถึงกรุงเทพ ฯ ก็ถึงแก่กรรม จึงโปรดเกล้า ฯ ให้พระยาจ่าแสนบดี ไปทำการปลงศพเจ้าราชบุตรณวัดบวรมงคล ฝ่ายพม่าต้องซู่ซึ่งเปนโจทย์ฟ้องหากล่าวโทษเจ้านายแสนท้าว พระยาลาวเมืองเชียงใหม่ ก็ตามลงมายื่นเรื่องราวต่อกงสุลเยเนราลอังกฤษณกรุงเทพ ฯ กงสุลเยเนราอังกฤษ แจ้งความมายังท่านเสนาบดีผู้ว่าราชการต่างประเทศ ๆ ก็นำความขึ้นน้อมเกล้าถวายคำนับกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าลอองธุลีพระบาท จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้พระยาราชวรานุกูล พระยาจ่าแสนบดี พระยามหามนตรี ลงไปชำระความพม่าต้องซู่โจทย์ เจ้านายแสนท้าวพระยาลาวเมืองเชียงใหม่จำเลย ที่บ้านกงสุลเยเนราลอังกฤษ ได้ตัดสินความโจทย์จำเลยยกเลิกไป ๒๑ เรื่อง จำเลยแพ้ ๑๑ เรื่อง

€ ครั้นณเดือน ๖ ปีรกาเบญจศก โปรดเกล้า ฯ ตั้งเจ้าอุปราชอินทนนท์บุตรพระยาราชวงษ์มหาพรหม ขึ้นเปนที่เจ้าอินทวิไชยานนท์ พหลเทพภักดี ศรีโยนางคนไนยราชวงษา มหาประเทศราชประชาธิบดี นพิสีนคราภิพงษ์ ดำรงพิพัฒนชิยางคราชวงษ์ เจ้านครเชียงใหม่ตั้งนายน้อยขัติยวงษ์ บุตรเจ้าเชียงใหม่อินทนนท์ เปนเจ้าราชบุตร ตั้งนายอินทรศ บุตรเขยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ เปนเจ้าราช