หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๔) - ๒๔๕๘.pdf/3

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร

ความแปลก จึงเก็บมารวบรวมพิมพ์ไว้ เพื่อรักษาหนังสือหายากมิให้เปนอันตรายหายสูญ แลให้เกิดประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้ศึกษาโบราณคดีทั้งปวงโดยได้มีโอกาศอ่านทราบแลสอบสวนหนังสือซึ่งลี้ลับอยู่ให้สดวกทั่วกัน หนังสือพงษาวดารเกร็ดต่าง ๆ นี้หอพระสมุดฯ หาได้อยู่เนือง ๆ ถ้ามีเรื่องพอจะรวมเปนเล่มพิมพ์ได้ ก็รวบรวมพิมพ์เสียคราว ๑ เพราะเหตุนี้ จึงต้องจัดแบ่งเปนภาค ๆ ดังพิมพ์มาแล้ว แลต่อไปก็ตั้งใจจะทำเช่นนี้ เห็นว่า ดีกว่าจะรอไว้คอยไปไม่มีกำหนดจนรวบรวมร้อยกรองให้สำเร็จเปนเรื่องใหญ่แล้วจึงพิมพ์เฉภาะเรื่อง

หนังสือประชุมพงษาวดาร ภาคที่ ๔ นี้มีพระราชพงษาวดารกรุงเก่าตามต้นฉบับหลวงเขียนครั้งกรุงธนบุรีเมื่อปีมเมีย ฉศก จุลศักราช ๑๑๓๖ พ.ศ. ๒๓๑๗ หรือที่เรียกกันในหอพระสมุดฯ โดยย่อว่า "ฉบับจุลศักราช ๑๑๓๖" เรื่อง ๑ พงษาวดารเมืองละแวก ฉบับสมเด็จพระนารายน์รามาธิบดี (นักพระองค์เอง) พระเจ้ากรุงกำพูชาทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เรื่อง ๑ พงษาวดารหัวเมืองมณฑลอิสาณ ฉบับหม่อมอมรวงษ์วิจิตร (ม.ร.ว.ปฐม คเนจร ณ กรุงเทพฯ) ปลัดมณฑลอิสาณแต่ง เรื่อง ๑ รวมเปนหนังสือพงษาวดาร ๓ เรื่องด้วยกัน หนังสือ ๓ เรื่องที่รวมพิมพ์ในภาคที่ ๔ นี้มีคุณวิเศษต่างกัน ควรอธิบายไว้ให้ผู้อ่านทราบในคำนำนี้เสียก่อน

พระราชพงษาวดาร ฉบับจุลศักราช ๑๑๓๖ นายเสถียรรักษา (กองแก้ว มานิตยกุล) ต.จ. บุตรเจ้าพระยานรรัตนราชมานิต ให้แก่