ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๕๓) - ๒๔๗๓.pdf/94

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๘๖

ณวันเสาร์ เดือนเก้า แรมสิบสี่ค่ำ เพลาเช้า ออกท้องพระโรง พระยาเทพวรชุนทูลถวายนายทัด นายเรือง นายมิ่ง นายพงษ์ นายกิ่ง นายเสือ นายพุ่ม นายเวียง เปนมหาดเล็ก ตรัสถามว่า คนนั้นบุตรใคร หลวงอนุรักษ์ภูเบศร์ชี้ตัวถวายให้ทรงทราบว่า คนนั้นเปนบุตรคนนั้น ๆ ทุกคน เสร็จแล้ว เสด็จขึ้น อยู่ครู่หนึ่ง เสด็จออก พระยาสายบุรี พระยายะหริ่ง พระยาตานี พระยารามัน พระยาระแงะ พระยายะลา พระยาหนองจิก แลพระวิเศษวังษา ผู้ช่วยราชการเมืองยะหริ่ง พระจนะ หลวงพิทักษ์สงคราม ปลัดจนะ นายกล่อม ผู้ว่าราชการเมืองเทพา แลตนกูโนะ ตนกูอาสัน ซึ่งพระยาตรังกานูแต่งให้มาเข้าเฝ้า ตั้งของถวาย พระยาเทพวรชุนกราบทูลถวายของ พระยาสายบุรี เป๋าทองคำหกเป๋า ทองคำทรายสิบตำลึงแขก พระยายะหริ่ง เป๋าทองคำสามเป๋า กฤชด้ามทองฝักทองเล่ม ๑ ทองคำทรายสิบตำลึง แขก กะรอกเหลืองกรง ๑ พระยาตานี กฤชด้ามทองเล่ม ๑ หนัก ๕ ตำลึง ทองคำทรายสิบตำลึงแขก พระยารามัน ทองคำทรายหนัก ๒๐ ตำลึงแขก เนื้อลายตัวผู้ ๑ ผู้หญิงหัวพริก ๒ คน[1] พระยาระแงะ 


  1. ที่เรียกว่า ผู้หญิงหัวพริก ในหนังสือนี้ ที่จริงคือแขกดำชาวอาฟริกา เข้าใจว่า พวกมลายูที่ออกไปเมกกะจะไปซื้อเด็ก ๆ คนพวกนี้มาจากพวกแขกอาหรับ จงมักจะมีแขกดำชาวอาฟริกาอยู่ตามเมืองมลายูไม่ใคร่ขาดแม้จนทุกวันนี้ ที่เอามาถวาย ๕ คนครั้งนั้นเปนเด็ก ๆ ทั้งนั้น ในหนังสือนี้ว่า เปนผู้หญิงทั้ง ๕ คน แต่ที่จริงมีผู้ชายคน ๑ เมื่อเข้ามาอยู่ในกรุงเทพ เรียกกันว่า "อ้ายยิ" โตขึ้นได้เปนตำรวจถือมัดหวายนำเสด็จมาจนในรัชกาลที่ ๕ ที่เปนผู้หญิงนั้นอยู่ในวัง ข้าพเจ้าเคยเห็น แต่พึ่งรู้ว่า เปนคนถวายครั้งเสด็จสงขลาเมื่อในรัชกาลที่ ๔ ต่อเมื่อได้อ่านหนังสือเรื่องนี้ สอบถามผู้หลักผู้ใหญ่ก็ได้ความสมจริง