หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๕๓) - ๒๔๗๖.pdf/133

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๒๙

มะพร้าว ว่าราชการอยู่ ๓ ปี ออกนอกราชการ ครั้นแผ่นดินเจ้าตาก[1] โปรดให้นายจัน มหาดเล็ก เปนพระยาพัทลุง ตั้งเมืองที่ตำบลบ้านม่วง ได้ว่าราชการเมืองอยู่ ๒ ปี ออกนอกราชการ แล้วโปรด ให้นายขุน บุตรพระยาราชบังสัน เปนพระยาพัทลุง ที่ชาวบ้านเรียกว่า พระยาคางเหล็ก ๆ มีบุตรชายชื่อ นายทองขาว ๑ นายกล่อม ๑ หญิงชื่อ กลน ๑ ฉิม ๑ รวม ๔ คน ได้ถวายตัวทำราชการอยู่กรุงเทพฯ[2] นายทองขาวได้เปนที่หลวงศักดิ นายเวรมหาดเล็ก นายกล่อมเปนมหาดเล็ก นายเผือก น้องชายพระยาคางเหล็ก เปนนายพลพ่าย มหาดเล็กหุ้มแพร กลิ่นเปนเจ้าจอมมารดากรมหมื่นไกรสรวิชิต ฉิมเปนหม่อมพนักงานอยู่ในพระราชวัง พระยาพัทลุงคางเหล็กตั้งเมืองอยู่ตำบลลำปำ ได้รับพระราชทานพานทองเปนเครื่องยศ นายบุญคง น้องเจ้าจอมมารดาแก้ว เปนพระทิพคำแหงสงคราม ปลัด พระยาพัทลุงคางเหล็กว่าราชการเมืองอยู่ ๑๓ ปี ถึงอนิจกรรมในแผ่นดินสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ โปรดเกล้าฯ ให้พระศรีไกรลาศ คนกรุง เปนพระยาพัทลุง ตั้งเมืองที่ ตำบลลำปำฝั่งทักษิณ

ลุศักราช ๑๑๕๓ ปีกุญ ตรีศก เดือน ๖ แขกเมืองเชียะยกกองทัพมาตีเมืองสงขลาแตก เจ้าเมืองสงขลาพาครอบครัวหนีไปเมือง


  1. หมายความว่า เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีตีเมืองนครศรีธรรมราชได้แล้ว
  2. เข้าใจว่า ถวายตัวทำราชการในรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร
๑๗