หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๕) - ๒๔๖๐ reorganised.pdf/20

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

(๑๒) ไช้ย็อก (ไทรโยค)

(๑๓) ฟั้นสี้วัน (นครสวรรค์)

(๑๔) เจี่ยมปันคอซัง

กุ้ยมี ๗๒ พื้นแผ่นดินข้างฝ่ายทิศตวันตกเฉียงปลายตีน หรือเฉียงเหนือ มีหินกรวด ด้วยเปนอาณาเขตรเสี้ยมก๊ก อาณาเขตรหลอฮกก๊กอยู่ฝ่ายทิศตวันออกเฉียงหัวนอน หรือเฉียงใต้ พื้นแผ่นดินราบแลชุ่มชื่น

เมืองหลวงมีแปดประตู[1] กำแพงเมืองก่อด้วยอิฐ เลียบรอบกำแพงเมืองประมาณสิบลี้เศษ ในเมืองมีคลองน้ำเล็กเรือไปมาได้ นอกเมืองข้างฝ่ายทิศตวันตกเฉียงหัวนอน หรือเฉียงใต้ ราษฎรอยู่หนาแน่น

ก๊กอ๋อง (พระเจ้าแผ่นดิน) อยู่ในเมืองข้างฝ่ายทิศตวันตก ที่อยู่สร้างเปนเมืองเลียบรอบกำแพงประมาณสามลี้เศษ เต้ย (พระที่นั่ง) เขียนภาพลายทอง หลังคาเต้ยมุงกระเบื้องทองเหลือง ซิด (ตำหนักแลเรือน) มุงกระเบื้องตกั่ว เกย (ฐานบัตร) เอาตกั่วหุ้มอิฐ ลูกกรงเอาทองเหลืองหุ้มไม้

ก๊กอ๋องชุดเสงกิมจึงไช้เกีย (พระเจ้าแผ่นดินเสด็จตำบลใดก็ทรงราชยาน) บางครั้งก็ทรงช้างที่มีกูบ สั่ว (พระกลดแลร่ม) ที่กั้นทำด้วยผ้าแดง


  1. แผนที่เมืองที่พรรณาในหนังสือนี้เปนแผนที่กรุงเก่า