หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๖) - ๒๔๖๐.pdf/85

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๗๘

ก็เข้าไม่ได้ ด้วยการป้องกันพระนครแขงแรง แลยกเข้าตียาก เพราะมีลำน้ำกิดกันอยู่ทุกด้าน กำแพงพระนครก็แขงแรงมั่นคง พม่าตั้งล้อมอยู่จนถึงปีจอ จุลศักราช ๑๑๒๘ พ,ศ, ๒๓๐๙ เข้าฤดูฝน พวกนายทัพนายกองไปร้องต่อมังมหานรธาว่า ถึงน่าฝนแล้ว ไม่ช้าน้ำเหนือจะหลากลงมาท่วมทุ่ง รบพุ่งยาก ขอให้ถอยกองทัพไปเสียสักคราว ๑ เมื่อตกแล้ง จึงยกกลับมาใหม่ แต่มังมหานรธาไม่ยอมถอย ว่า ทำการร่วมเข้ามาจนถึงได้เข้าล้อมกรุงศรีอยุทธยาไว้แล้ว ถ้าล้อมไว้ยิ่งช้าวันไป นับวันแต่ไทยจะบอบช้ำอดอยากลงทุกที ถ้าเลิกทัพกลับไปเสียคราว ๑ ไทยก็จะมิช่องหาเสบียงอาหารทั้งกำลังแลเครื่องสาตราวุธมาเพิ่มเติม จะกลับมาตีอิกก็คงลำบาก มังมหานธาจึงให้ไปเที่ยวหาที่ดอนตามโคกวัดเปนต้น ซึ่งมีรายรอบพระนคร ทำเปนที่ตั้งค่าย แลแบ่งกำลังกองทัพกองทัพออกทำไร่นา ครั้นถึงฤดูน้ำเหนือหลากลงมาในปีจอ จุลศักราช ๑๑๒๘ พ,ศ, ๒๓๐๙ มังมหานรธาให้เอาช้างม้าออกไปเลี้ยงไว้ตามหัวเมืองดอน ค่ายพม่าที่ตั้งล้อมกรุงอยู่นั้นให้ปลูกหอรบรายถึงกันตามคลองน้ำ แล้วจัดเรือรบไว้ลาดตระเวรตามลำน้ำ บรรจบถึงกันตลอดรอบพระนคร ในฤดูน้ำ ปีจอนั้น ปรากฎในพงษาวดารพม่าว่า ไทยแต่งกองทัพเรือออกไปตีพม่า ๓ ครั้ง พม่าก็ตีแตกกลับเข้ามาทุกคราว

ครั้นน้ำลด แผ่นดินแห้ง พม่ากลับเข้าตั้งล้อมพระนครดังแต่ก่อน