หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๗) - ๒๔๖๐.pdf/63

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๕๓
คำให้การขุนโขลน เรื่อง พระพุทธบาท

 วัน ๑๕ ฯ  ค่ำ จุลศักราช ๑๑๔๖ ปีมโรง สัมฤทธิศก ขุนสัจพันธคีรี ขุนอินทรพิทักษ์ ขุนธรรมการ ประขาวเพ่ง นั่งพร้อมกันบนที่ทักษิณโรงประโคม จึงบอก (ฉบับลบ)[1] ได้ ทำราชการมาแต่ครั้งบรมโกษฐมาจนถึงพระที่นั่งสุริยามรินทร์ จึงเอาตำรารายจดหมายอย่างธรรมเนียมท้องที่อำเภอ[2] พระพุทธบาทแต่ก่อนนั้นมาส่งให้ข้าพเจ้า

เปนอย่างธรรมเนียมแต่ก่อน ขุนหมื่นกรมการข้าพระพุทธบาทนั้น ขุนยกรบัตรข้าหลวงกำกับท่านตั้งมาแต่กรุงเทพมหานคร 

  1. ความตรงที่ฉบับลบตอนนี้ สันนิฐานว่า คงเปนชื่อกรมการเก่าซึ่งเคยเปนผู้รั้งตำแหน่งขุนโขลนให้เอาตำราเรื่องพระพุทธบาทมาให้แก่ขุนสัจพันธคิรีที่เปนตำแหน่งขึ้นใหม่
  2. ที่เรียกว่า อำเภอ ตรงนี้ ทำให้เข้าใจว่า ครั้งกรุงเก่า การปกครองเปนอำเภอ ตำแหน่งนายอำเภอเรียกว่า "ขุนโขลน" ต่อมาในชั้นกรุงรัตนโกสินทร ยกขึ้นเปนเมืองจัตวา กลับลดลงเปนอำเภอเมื่อจัดตั้งมณฑลในรัชกาลที่ ๕ เดี๋ยวนี้ที่พระพุทธบาทเปนแต่กิ่งอำเภอ เพราะตัดที่ตอนเมืองเก่าตั้งเปนอำเภอหนองโดน