หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๗) - ๒๔๖๐.pdf/64

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๕๔

ครั้นเมื่อเทศกาลถือน้ำ ขุนยกรบัตรนั้นได้ลงไปถือน้ำกรุงเทพมหานครทุกปี ถ้าแลราษฎรชาวบ้านจะร้องฟ้องหาความแก่กันด้วยความสิ่งใด ๆ ถ้าแลเปนความแพ่ง สลักหักฟ้องส่งให้ขุนเทพสุภาชลธี หมื่นศรีพุทธบาทราชรักษา เอาไปพิจารณา ถ้าเปนความอาญา ประทับฟ้องส่งให้ขุนเฉลิมราชปลัดเอาไปพิจารณา ถ้าเปนความหันตโทษนครบาล ประทับฟ้องส่งให้หมื่นชินบาลชาญราชรักษาเอาไปพิจารณา ถ้าเปนความด้วยไร่นา ขุนอินทรเสนา ขุนพรหมเสนา ได้เอาไปพิจารณา ถ้าจะให้เรียกเงินทองวิวาทแก่กัน ขุนอินทรพิทักษ์ ขุนพรหมรักษา หมื่นพิทักษ์สมบัติ หมื่นพิทักษ์รักษา เอาไปพิจารณา เปนสัตย์ด้วยความสิ่งใด ๆ ส่งสัตย์ไปปรับณเมืองลพบุรี เมืองสระบุรี ณเมืองนครขีดขินนี้[1] แต่ก่อนเปนเมืองคู่ปรับกัน ครั้นมาเมื่อครั้งบรมโกษฐได้เสวยราชสมบัติ เสด็จพระราชดำเนินขึ้นมานมัสการพระพุทธบาท จึงมีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ สั่งว่า ข้าหลวงขึ้นมาเปนที่ยกรบัตรนั้นไม่ยืนนาน ปี ๑ ตาย ๒ ปี ตาย แต่นี้สืบไปเมื่อน่า ให้จัดขุนหมื่นข้าพระพุทธบาทเปนที่ขุนยกรบัตรบ้างเถิด แล้วอย่าให้ขุน


  1. ในหนังสือนี้ ที่เรียกว่า เมืองขีดขิน ฤๅ เมืองปรันตปะ เปนเมืองเดียวกัน เพราะเรียกว่า เมืองขีดขิน อยู่ก่อน เมื่อพบรอยพระพุทธบาทแล้ว จึงเรียก เมืองปรันตปะ ให้ต้องตามตำนานพระพุทธบาท