หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๗) - ๒๔๖๐.pdf/65

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๕๕

ยกรบัตรขึ้นไปถือน้ำกรุงเทพมหานครเลย ให้ถวายบังคมเทียนพรรษาซึ่งจบพระหัตถ์ขึ้นมานั้นให้พร้อมกัน ถ้าผู้ใดขาดมิได้ถวายบังคม มีโทษถึงสิ้นชีวิตร ถ้าแลพิจารณาเนื้อความอันใดเปนแต่ความมโนสาเร่ ก็ให้ว่ากล่าวกันเสียให้สำเร็จแค่ในพระพุทธบาทนี้เถิด ถ้าแลเปนความมหันตโทษ พิจารณาเปนสัตย์ความข้อใหญ่นั้น ให้บอกส่งสัตย์ลงไปปรับยังลูกขุนศาลหลวง พิจารณามิตกลงกัน ให้บอกส่งลงไปยังลูกขุนศาลา อย่าให้ (ส่งไปปรับที่เมืองลพบุรี เมือง) สระบุรี เหมือนอย่างแต่ก่อนเลย เปนตำแหน่งเมืองนครขีดขินอยู่ก็จริง แต่ว่า ขุนหมื่นเหล่านี้ได้รักษาพระพุทธบาทอยู่ด้วย จะให้ขึ้นแก่ผู้รั้งกรมการเมืองใดนั้นหามิได้ จึงขาดแต่วันนั้นมาจนถึงที่นั่งสุริยามรินทร์ จึงมิได้ไปปรับณเมืองลพบุรี เมืองสระบุรี แต่ครั้งนั้นมา ๚

 อนึ่ง แต่โบราณมา เมื่อยัง (ไม่?) มีอำเภอพระพุทธบาท มีกรมการสำหรับเมืองขีดขินนั้น ๘ คน หลวงสารวัดราชธานีศรีบริบาล (เปนผู้รั้ง) คน ๑ ขุนเฉลิมราชปลัด คน ๑ ขุนเทพยกรบัตร คน ๑ ขุนเทพสุภา คน ๑ ขุนจ่าเมือง คน ๑ ขุนสัสดี คน ๑ ขุนอินทรเสนา คน ๑ ขุนพรหมเสนา คน ๑ มีพรานคน ๑ ๚

 เมื่อจะพบฝ่าพระพุทธบาทครั้งนั้น ท้าวอภัยทศราชได้เสวย