หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๗) - ๒๔๖๐.pdf/69

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
๕๙

บาลยกรบัตร ขุนเทพสุภานั้น เมื่อเสด็จพระราชดำเนินขึ้นมานมัสการพระพุทธบาทนั้น กับตำรวจใน ๒ คน กำกับกันไปรักษาน้ำศิลาดาษจึงตั้งว่าขุนเทพชลธี หมื่นรองสุภานั้นเปนหมื่นศรีพุทธบาลราชรักษา เปนปลัดขุนยกรบัตร ขุนจ่าเมืองนั้นตั้งเปนขุนชินบาลชาญราชรักษา เปนปลัดขุนสัจพันธคิรี ขุนสัสดีตั้งเปนหมื่นมาศคิรีสมุหบาญชี แต่ขุนอิทรเสนา ขุนพรหมเสนาคงที่เดิมแต่ก่อนมา

หลวงสารวัตถือตรารูปองคต ขุนสัจพันธคิรีถือตรารูปคน ถือดอกบัวถือเทียนข้าง ๑ ขุนเฉลิมถือตรารูปช้าง ขุนยกรบัตรถือตรารูปคนถือโคม ขุนเทพสุภาถือตรารูปหงษ์ ขุนชินบาลถือตรารูปคนถือดอกบัว ขุนอินทรเสนาถือตรารูปคนถือเชือก ขุนพรหมเสนาถือตรารูปคนถือสมุดเหมือนพระพุทธบาท ถือตรารูปคนถือธง หมื่นมาศคิรีถือตรารูปคนถือสมุด หมื่นสุวรรณปราสาทถือตรารูปมณฑป ขุนอินทรพิทักษ์ถือตรารูปคนถือพาน ขุนพรหมรักษาถือตราบัว หมื่นพิทักษ์สมบัติถือตรารูปสิงห์ หมื่นพิทักษ์รักษาถือตรารุปตะไกร ขุนสารวัต ขุนสัจพันธคิรี ขุนหมื่นทั้งนี้ท่านมหาด ไทยได้ตั้ง แต่ขุนยกรบัตรนั้นท่านกรมวังได้ตั้งแต่เดิมมา มีทั้งพระกัลปนาตราพระราชสีห์ พระธรรมนูญ พระธรรมสาตรหลักอินทภาษ ไว้สำหรับให้ว่าเนื้อความตามตำแหน่งเมืองปรันตะปะนครราชธานีแต่ก่อนมาทุก ๆ พระองค์ ซึ่งหลวงสารวัดราช