หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๗) - ๒๔๖๐.pdf/78

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
๖๘

แต่โบราณมามีต้นไม้ต้น ๑ ใหญ่ประมาณ ๓ อ้อม มีดอกเท่าฝาบาตร ครั้นเพลาเช้าเพลาเย็นบาน กลางวันตูม เมื่อจะบานนั้นหันน่าดอกเข้าไปข้างพระมณฑปทุกเพลา มีสัณฐานดอกนั้นเหมือนดอกทานตวัน ครั้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าแตงโม ทำมณฑปขึ้นไปว่าต้นไม้นั้นกีดทรงพระมณฑปอยู่ จึงฟันต้นไม้นั้นเสีย แต่วันนั้นไปท่านสมเด็จพระเจ้าแตงโมก็ตั้งแต่ลงโลหิตไปจนเท่าวันตาย ๑๒ พระมณฑปนั้นสูง ๑๘ วา ๒ ศอกคืบ เงินดาดพื้น ๖๐๐ ชั่ง กระจกปูผนังข้างในใหญ่ ๓ ศอกคืบ ๔ เหลี่ยมจัตุรัส กระจกประดับผนังข้างนอก ๑๘๐ แผ่น กระจกประดับเสาใน ๓๒๐ ทองคำปูหลังคาลงมา ๖๒ ชั่ง ทองคำเปลว ๒๙๔๖๐๐ แผ่น ๑๒ สมเด็จเจ้าแตงโมนี้ มีเรื่องตำนานทางเมืองเพ็ชรบุรี ว่าเปนชาวบ้านหนองหว้า มาบวชเปนเณรอยู่วัดใหญ่ แล้วเข้ามาอุปสมบทอยู่กรุงเก่า มีคุณวิเศษจนถึงได้เปนสมเด็จพระสังฆราช จึงกลับ ไปบุรณวัดใหญ่แลวัดหนองหว้าที่เมืองเพ็ชรบุรี ยังมีตำหนักแลรูปหล่อของสมเด็จเจ้าแตงโมอยู่ที่วัดใหญ่จนทุกวันนี้ ในหนังสือพระราชพงษาวดารตอนแผ่นดินสมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ มีปรากฎว่า สมเด็จพระสังฆราชรับออกไปเปนแม่การปฏิสังขรณ์ที่พระพุทธบาท เข้าใจว่าคือสมเด็จพระสังฆราชแตงโมองค์นี้