ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๙) - ๒๔๖๑.pdf/3

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
(๒)

จำพวก ๑ ซึ่งเรียกกันว่า "ลื้อ" ภาษาที่พูดก็เข้าใจกับเราชาวสยามได้ แต่ปลาดที่สำเนียงแลคำพูดคล้ายชาวนครศรีธรรมราช ข้าพเจ้าได้เคยพูดกับพวกลื้อที่ตั้งภูมิลำเนาอยู่ในเขตรเมืองน่าน จึงทราบความอันนี้ เห็นสมกับที่กล่าวไว้ในหนังสือพระราชพงษาวดารว่า เมื่อ ปีจอ พ.ศ. ๑๙๗๓ สมเด็จพระราเมศวรเสด็จขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ กวาดครอบครัวลงมามาก แลครอบครัวที่ได้มาครั้งนั้นให้ลงไปอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราช เมืองสงขลา เมืองพัทลุง ไทยที่อยู่ในแขวงเชียงใหม่สมัยนั้นคงจะเปนพวกลื้อนี้โดยมาก

แว่นแคว้นสิบสองปันนาแยกกันเปนหลายเมือง ต่างมีเจ้านายปกครอง แต่อยู่ในญาติวงษ์อันเดียวกัน เจ้าเชียงรุ้งเปนหัวน่า

เหตุที่จะได้เรื่องพงษาวดารเมืองเชียงรุ้งที่พิมพ์ไว้ในสมุดเล่มนี้นั้น เดิมพวกเจ้าเมืองเชียงรุ้งแย่งกันเปนใหญ่ จีนอุดหนุนฝ่าย ๑ พม่าอุดหนุนฝ่าย ๑ พวกเชียงรุ้งเกิดรบราฆ่าฟันกัน บ้านเมืองไม่เปนปรกติมาหลายปี ทีหลังพม่ามาเบียดเบียน เจ้านายเมืองเชียงรุ้งจึงอพยพเข้ามาขออาไศรยในพระราชอาณาจักรเมื่อปีวอก พ.ศ. ๒๓๙๑ อุปราชามาอาไศรยเมืองหลวงพระบางพวก ๑ มหาไชยมาอาไศรยเมืองน่านพวก ๑ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้รับลงมากรุงเทพฯ ทั้ง ๒ คน ไต่ถามได้ความว่า เมืองเชียงรุ้งสมัคจะเปนข้าขอบขัณฑสิมา ขอพระบารมีเปนที่พึ่งต่อไป ทรงพระราชดำริห์ว่า พม่ามีอำนาจที่เมืองเชียงรุ้ง ก็เพราะได้กำลัง