ตั้งแต่นั้นเมืองไลจึงได้ไปคำนับอ่อนน้อมต่อฝ่ายจีนแลฝ่ายญวนแลฝ่ายลาว เปนธรรมเนียมสืบมาทุก ๆ เจ้าเมืองที่ได้เปนเจ้าเมืองไล นั้น เจ้าเมืองไลเก็บเงินส่วยพวกราษฎรซึ่งทำมาหากินอยู่ในแดนดิน ทั้ง ๓ ฝ่ายนั้นได้มากน้อยเท่าใดแล้ว ก็แบ่งออกเปน ๓ ส่วน ๆ ที่เก็บ ได้ในแดนดินลาวก็ส่งมาถวายเจ้านายฝ่ายลาว ส่วนที่เก็บได้ในแดนดินจีนก็ส่งไปถวายเจ้านายฝ่ายจีน แลส่วนที่เก็บได้ในแดนดินญวนก็ส่งไปถวายเจ้านายฝ่ายญวน แลเหลือจากนั้นก็จำหน่ายใช้การบำรุงเมืองไลต่อไป การเดิมเปนมาดังนี้ ในภายหลังจึงได้เรียกกันว่าเมืองส่วย ๓ ฝ่ายฟ้าสืบมาจนทุกวันนี้ เจ้าเมืองไลแต่เดิม ๆ ในชั้นต้นนั้น จะส่งส่วยบรรณาการถวายแก่เจ้านายทั้ง ๓ ฝ่ายนั้นเปนฝ่ายละมากน้อยเท่าใดก็ไม่ปรากฎแน่ ด้วยบ้านเมืองแลเขตรแขวงพึ่งตั้งขึ้นใหม่ ๆ แลราษฎรก็ยังไม่มี เต็มภูมิลำเนาทีเดียว ต่อภายหลังราษฎรเกิดเจริญมากขึ้น แลตั้ง บ้านเรือนเปนภูมิลำเนามั่นคงลงมากแล้ว เจ้าเมืองไลในชั้นหลัง ลงมาจึงได้เก็บส่วย แลจัดเปนเครื่องบรรณาการถวายแก่เจ้านาย ทั้ง ๓ ฝ่ายนั้นเปนธรรมเนียมได้รู้กันสืบมาจนถึงบัดนี้ คือเมืองหลวงพระบางนั้นเปนส่วยเงินพันหนึ่ง บางทีเรียกว่า ๓ ปุงเศษ ปุง ๑ เปนเงินไทย ๒๕ บาท รวม ๓ ปุงเศษนั้น เปน เงินไทยชั่ง ๑ ม้า ๆ หนึ่ง เมืองจีนนั้น มีแต่ส่วยเงิน ๑๐ ปุง ๆ ละ ๒๕ บาท รวมเปน เงิน ๒๕๐ บาท เพราะมิได้มีม้า แลเก็บเงินส่วยในแดนดินฝ่ายจีนนั้น
หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๙) - ๒๔๖๑.pdf/56
หน้าตา