หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๑) - ๒๔๘๑.pdf/20

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
พระธรรมสาตร

ปวง ยญฺจ สตฺถํ อันว่าคำภีรอันใด โลกหิตํ เปนปรโยชนแก่
สัตวโลกย ปากฏํ ปรากฎิ ธมฺมสตฺถํ อิติ ชื่อว่าคำภีรพระ
ธรรมสาตร มนุสาเรน อันพระมโนสารฤๅษี ภาสิตํ กล่าว
อาทิโต ในต้น มูลภาสาย ด้วยมคธภาษา ปรมฺปราภตํ อัน
ปรำปราจารยนำสืบกันมา ปติฏฺฐิตํ ตั้งอยู่ รามญฺเญสุ ในรา
มัญปรเทษ ภาสาย ด้วยภาษา รามญฺญสฺส จ แห่งรามัญก็ดี
อิทานิ ในกาลบัดนี้ ปุริเสน อันบุรุษผู้เปนวินิจฉัยอำมาตย
ทุคฺคาฬฺหํ จะยังรู้เปนอันยาก อิห สามเทเส ในสยามปรเทษนี้
ตสฺมา เหดุดั่งนั้น อหํ อันว่าข้า รจิสฺสํ จักตกแต่ง ตํธมฺม
สตฺถํ ซึ่งคำภีร์พระธรรมสาตรนั้น สามภาสาย ด้วยสยาม
ภาษา ตุมฺเห อันว่าท่านทังหลาย สุณาถ จงฟัง ตํ สตฺถํ ซึ่ง
คำภีร์พระธรรมสาตรนั้น สนฺติกา แต่สำนักนิ เม แห่งเรา
2
 ตตฺรายมนุปุพพิกถา อยํ อนุปุพฺพิกถา อันว่ากล่าวแต่
ต้นให้เปนลำดับไปนี้ ปณฺฑิเตน อันนักปราผู้วินิจฉัยคดี
เวทิตพฺพา พึงรู้ ตตฺร ธมฺมสตฺเถ ในคำภัร์พระธรรมสาตรนั้น
อิติ ด้วยปรการอันกล่าวไปนี้
 กิร ดั่งจได้ฟังมา ในปถมกัลปแรกตั้งแผ่นดินนั้น มีกำแพง
จักรวาฬ แลเฃาพระสุเมรุราช แลสัตะปะริภัณทะบรรพตทัง
๗ ทวีปใหญ่ ๔ ทวีปน้อย ๒๐๐๐ มหาสมุท ๔ แลไม้ใหญ่
ประจำที่ทัง ๗ คือ ศิริศะพฤกษอันประจำในบุพวิเท่หะ แลไม้
กระทุ่มประจำในอะมระโคญานะ แลไม้กรรมพฤกษประจำ
ทวีปอุดรกาโร แลไม้หว้าประจำชมภูทวีป แลไม้แคฝอย
ม.ธ.ก.