หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๑) - ๒๔๘๑.pdf/4

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้ตรวจสอบแล้ว

เสียใหม่ให้สมกับสมัย และบางตอนถึงกับแก้ไขถ้อยคำสำนวนเสียบ้างก็มี กรมหลวงราชบุรีฯ ก็ได้ทรงยึดถือคติอันเดียวกันนี้ โดยได้ทรงตัดทอนบทบัญญัติซึ่งเลิกใช้บังคับแล้วออกเสียด้วย

ในเวลานี้ ประมวลกฎหมายใหม่ต่าง ๆ ก็ได้ประกาศใช้จนครบถ้วน ประมวลกฎหมายปี จ.ศ. ๑๑๖๖ จึงมีประโยชน์เพียงในฐานตำนานกฎหมายเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ในการจัดพิมพ์ใหม่นี้ จึงมีข้อสำคัญที่จะพึงยึดถืออยู่ว่า จะต้องคัดแบบจากตัวบทบัญญัติซึ่งได้ชำระสะสางขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ ให้ถูกต้องตามอักขรวิธีที่ใช้ในต้นฉะบับนั้น เพื่อนักศึกษาจักได้ใช้เป็นเครื่องมือค้นคว้าโดยไม่ต้องพึ่งฉะบับเขียนตามแต่จะสามารถทำได้

การจัดพิมพ์กฎหมายเก่าขึ้นนั้นใช่จะเป็นประโยชน์แต่ฉะเพาะนักนีติศาสตร์เท่านั้นก็หาไม่ ยังเป็นคุณแก่นักประวัติศาสตร์ เพราะการศึกษาในวิชาประวัติศาสตร์ย่อมต้องอาศัยพระราชปรารภในกฎหมายและตัวบทกฎหมายเองประกอบด้วย นักโบราณคดีและนักศึกษาโบราณประเพณีของสยามก็เช่นกัน ย่อมได้รับประโยชน์จากบทกฎหมายต่าง ๆ ซึ่งบัญญัติขึ้นโดยอาศัยจารีตประเพณี ธรรมนิยม หรือความเชื่อถือต่าง ๆ เป็นหลัก และจารีตประเพณีเหล่านี้แม้ในรัชกาลที่ ๑ ได้เลิกถือเสียแล้วก็มีบ้าง ประโยชน์อีกข้อหนึ่ง ได้แก่ ประโยชน์ในทางภาษาศาสตร์และวรรณคดี แม้อักขรวิธีและสำนวน

ม.ธ.ก.