หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๑) - ๒๔๘๑.pdf/8

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

ถ้าเหลือหลายฉะบับ ก็ได้เลือกเอาฉะบับหนึ่งมาพิมพ์ตามที่กล่าวไว้นี้ และที่ผิดกับฉะบับอื่นก็แถลงไว้ในเชิงอรรถ เนื่องจากอาลักษณ์ได้เขียนและสอบทานฉะบับหลวงด้วยความระมัดระวัง จึงมีที่แตกต่างแต่เพียงเล็กน้อย โดยมากที่ต่างกันนั้น ก็คือ การสกดการันต์ เพราะอาลักษณ์ต่างก็เขียนศัพท์ต่างกันตามใจของตนเอง เช่น มิ หมิ มี หรือ หมิ ไหม่ หรือ ใหม่ ภูดาษ หรือ ผู้ดาษ ค่า หรือ ข้า พบ ภบ หรือ ภพ สาร หรือ สาน ฯลฯ เป็นต้น ข้อแตกต่างทางอักษรที่มีบ่อย ๆ เช่นนี้มิได้หยิบยกขึ้นไว้ในเชิงอรรถ เพราะได้พิมพ์ตัวบทกฎหมายตามที่อาลักษณ์ต่างเขียนไว้[1] ผู้อ่านจึงจะมีโอกาสพบตัวอย่างแห่งวิธีเขียนต่าง ๆ นี้ แต่ข้อต่างอื่น ๆ ได้ทำเชิงอรรถไว้ทุกข้อ

ฉะบับที่ใช้ในการพิมพ์นี้ ได้อ้างตามเครื่องหมายที่ปรากฏอยู่ในบัญชีฉะบับหลวงของนาย ย. บูรเนย์ พิมพ์ไว้ในหนังสือของสยามสมาคม[2]

ในการพิมพ์นี้ มิได้เรียงกฎหมายลักษณะต่าง ๆ ตามฉะบับพิมพ์ครั้งก่อน เพราะลำดับลักษณะกฎหมายในฉะบับพิมพ์ครั้งก่อนนั้นหาได้มาจากการปฏิบัติเก่าแก่อันใช้สืบเนื่องกันแต่เนิ่นนานมาไม่ ประการหนึ่ง ลำดับนี้ไม่ตรงกับ


  1. ชื่ออาลักษณ์เหล่านี้ได้แถลงไว้ในตารางตอนท้ายเล่ม
  2. J. Burnay, Inventaire des Manuscrits Juridiques Siamois, Journal of the Siam Society, vol. XXIII, XXIV, XXV.
ม.ธ.ก.