หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๒) - ๒๔๘๑.pdf/76

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๗๔
ทาษ

การหนึ่งไถ่ขาดข้า)[1] ปรการหนึ่งไถ่มิได้ใช้ อันว่าไถ่มิได้ขาดคานั้น คือว่า ไถ่ฝากมีผู้ฃายนายประกัน ถ้ามันหลบลี้หนีหาย เอาแก่ผู้ฃายนายประกันได้ อันว่าข้าไถ่ขาดค่านั้น คือว่า ไถ่เตมค่า แลท่านมิได้ปรกัน มันหลบหลีกหนีหาย จะเอาแก่ผู้ฃายนั้นมิได้ อันว่าไถ่ทาษมิได้ใช้นั้น คือว่า ไถ่แล้วให้ผูกดอกเบี้ยไปก็ดี แลทาษนั้น[2] ฃอผูกดอกไปเองก็ดี ผู้[3] ไถ่มิได้ไช้
3
  มาตราหนึ่ง ถ้าผัวแลพ่อแม่นายเงินเอาชื่อลูกเมียข้าคนใส่ในกรมธรรมฃาย ท่านว่า เปนสิทธิ แม้นว่าเจ้าสีนบอกก็ดี มิได้บอกก็ดี แก่ตัวเรือนเบี้ยซึ่งมีชื่ออยู่ในกรมธรรม์นั้น ท่านว่า เปนสิทธิได้โดยกระบิลเมืองท่าน เหดุว่าเจ้าผัวพ่อแม่นายเงินนั้นเปนอิศรภาพแล
4
  มาตราหนึ่ง เมียก็ดีลูกก็ดีเอาชื่อ พ่อ
แม่
แลผัวใส่ในกรมธรรม์ฃาย ท่านว่า มิเปนสิทธิเลย เหดุว่า เมีย
ลูก
นั้นมิได้เปนอิศระแก่ผัวแลพ่อแม่นั้นเลย
5
  มาตราหนึ่ง ผู้ใดขาดแคลนมีอาสนเอา พี่น้อง
ลูกหลาน
ญาติ

  1. ในต้นฉะบับ คำในวงเล็บตกไป เพิ่มตามฉะบับพิมพ์ ปี จ.ศ. ๑๒๑๑
  2. ต้นฉะบับ: นัน
  3. ต้นฉะบับ: คำว่า ผู้ ตกไป
ม.ธ.ก.