หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๓) - ๒๔๘๑.pdf/117

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๐๖
กฎ ๓๖ ข้อ

จะให้ทาษชะเลยเสียค่าตัวเหมือนลูก 
  • ทาษ
  • ครอก
นั้นหาควรไม่ จึ่ง
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งว่า
 แต่นี้สืบไปเมื่อหน้า ผู้ได้ทาษชะเลยมาขายทาษไปให้
มีค่าตัวแล้วมันมิสมักอยู่ ก็ให้ส่งเงินตามค่าตัว ถ้ายังหา
ค่าตัวมิได้ จะส่งเงีนแก่ผู้ได้มานั้นให้ทวีขึ้น ชายสกันค่า ๑๖  
 
หญิงสกันค่า ๑๔   ที่[1] อายุศมเดกแลแก่นั้น ให้ลดตามหลั่น
 
เทียบกระเสียนอายุศมพระไอยการเดิม เหตุว่าผู้ได้มานั้น
ได้ด้วยยาก ถ้าหญิงทาษชะเลยนั้นเกิดลูก 
  • ชาย
  • หญิง
ณกรุงแล้ว
ถ้ามันจะส่งเงินไป อย่าให้คิดเอาค่าตัวลูกมันเปนทวีคูนเลย ให้
คิดเอาค่าตัวลูกมันตามกระเสียนอายุศมบทพระไอยการเดิม
 อนึ่ง ผู้ได้ชะเลยมานั้น ยกชะเลยให้ไปแก่ผู้อื่น แล
แลกเปลี่ยนกันไปกับทาษมิได้เปนชะเลยก็ดี แลผู้ใด้ชะเลย
มานั้นตาย ยังแต่บุตรภรรยาญาติพี่น้องได้ทาษชะเลยเปน
มรฎกไว้ก็ดี ถ้ามันมิสมักอยู่ ให้คิดเอาค่าตัวตามกระเสียน
อายุศมโดยบทพระไอยะการเดิม

  1. ต้นฉะบับ: คำว่า ที่ ลบเสีย เพิ่มตาม ก
ม.ธ.ก.