หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๓) - ๒๔๘๑.pdf/71

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๖๐
กฎ ๓๖ ข้อ

สำนวรเปนแพ้เปนชะนะ อย่าเภ่อพิภากษาให้ปรับ ถ้าตัดสำ
นวรเปนแพ้เปนชะนะ จึ่งพิภากษาให้ปรับทีเดียว
 กฎให้ไว้ณวัน + ๑๑ ค่ำ จุละศักราช ๑๐๓๒ ปีจอ โทศก
6
 อนึ่ง มีกฎให้ไว้ว่า ราษฎรจะร้องฟ้องหาความแก่กัน
ณะโรงสานกรมใด ๆ ก็ดี แลโจทจำเลยนั้นอย่าให้ทำเปนอำ
ยวนเคลือบแอบแฝงเปนกลย่นย่อไว้ในข้อหา แลให้ผู้
พิจารณา ๆ ดูฟ้อง ถ้าแลเคลือบแฝงเปนกลอยู่ อย่าให้รับ
 อนึ่ง ถ้าฝ่ายจำเลยให้การเปนกลความ อย่าให้กระลา
การผู้พิจารณาเขียนเอาคำให้การ ถ้าแลกระลาการผู้พิจารณา
รับฟ้องแลเขียนเอาคำให้การซึ่งเปนกลนั้น ให้เอากระลาการ
ผู้พิจารณาแลโจทจำเลยซึ่งว่าเนื้อความเปนกลนั้นเปนโทษ
จงหนัก
 กฎให้ไว้ณวัน ๑๑ +  ค่ำ จุละศักราช ๑๐๓๓ ปีกุญ ตรีนิศก
7
  อนึ่ง พระมหามนตรีรับพระราชโองการใส่เกล้าฯ สั่ง
ว่า ให้อาาไว้แก่ลูกขุนณสานหลวงว่า ถ้ากระลาการคุมเอา
ลูกความไปชี้แก่ลูกขุนณสานหลวง ถ้าลูกความติดใจกระลา
การ ให้มีคำขึ้นแก่ขุนราชพินิใจผู้เสนอ ให้รับเอาถ้อยคำนั้น
เสนอแก่ลูกขุน ถ้าติดใจลูกขุนว่า พิภากษาเนอความขาด
เหลือ ก็ให้ลูกความติงทุเลา ถ้าติงทุเลาชอบ ให้พิพากษาหา
ความชอบคืนสืบไป อย่าให้ลูกความทุ่งเถียงตอบโต้ลูกขุน
ม.ธ.ก.