หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๓) - ๒๔๘๑.pdf/82

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๗๑
กฎ ๓๖ ข้อ

สำนวรเก่าส่งให้เจ้ากรมปลัดกรมกราบทูลพระกรรุณาให้แจ้ง
ก่อน ถ้ากระลาการเก่าเปนเจ้าพญาแลพญาพระหลวงขุนหมื่น
ผู้มีบันดาศักดิข้าทูลอองทุลีพระบาท ก็ให้เอาสำนวรเก่า
กราบทูลพระกรรุณาให้แจ้ง ถ้าทรงพระกรรุณาให้กระลาการ
ใหม่เอากระลาการเก่ามาพิจารณา จึ่งให้ทำตามรับสั่ง
 กฎให้ไว้ณวัน + ค่ำ จุลศักราช ๑๐๘๒ ปีชวด โทศก
26
 ๒๖ อนึ่ง มีกฎให้ไว้ว่า ถ้ามีหนังสือปิตราเจ้าพญาจักรี
พญามหาเสนา พญาธรรมา พญาพลเทพ พญาพระคลัง พญา
ยมมราช ไปถึงผู้รักษาเมืองผู้รั้ง[1] กรมการเมืองใด ๆ ตามข้อ
ความ ถ้ามีสารตราให้มาแก่กรมการ แลผู้ถือตรากับกรมการ
ผู้รับตราย่อมคิดอ่านเปนใจด้วยกันฉลายท้องตราแลชื่อคน
เรือนเงีนก็มี ถ้าแลจะมีตรากรมใด ๆ จะไปถึงกรมการด้วย
ให้ส่งคนแลของมรดกเรียกเงีนเปนหลวงก็ดี ให้มีตราแจ้ง
ตราลับ ๆ นั้นให้ตตราประจำชื่อคนเรือนเงีนแล้ว ให้ใส่กลักมี
สายเชือกพอกครั่ง[2] ติดโอบรอบกลักปิตราประจำครั่ง แล
ให้ผู้รับตราเอาตราลับตราแจ้งทานกันดู ถ้าชื่อคนเรือนเงีน
ต้องกัน จึ่งให้ทำตาม ถ้ามิต้องกัน ก็ให้บอกหนังสือส่งตัว
ผู้ถือตราเข้ามายังลูกขุนณศาลา

  1. ทั้งสองฉะบับเขียน รัง
  2. ต้นฉะบับ: คร้ง
ม.ธ.ก.