หน้า:ประวัติ - ปิติ วาทยะกร - ๒๕๑๒.pdf/9

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้ตรวจสอบแล้ว

แปลนี้ เมื่อท่านจะอ้างถึงหนังสือรายคาบ Mercure Galante ท่านภราเธอร์ฮีแลร์ใช้คำว่า “หนังสือพระราชกิจจานุเบกษา “แมร์กีร์” ข้าพเจ้าเองได้เคยสนทนากับภราเธอร์ฮีแลร์ถึงเรื่องหนังสือที่ท่านได้ถวายสมเด็จกรมพระยาดำรงไปแล้ว และตอนหลัง ทางการราชบัณฑิตยสภาได้จัดพิมพ์ในชุดประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๕๗, ๕๘, ๕๙ และ ๖๐ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ นั้น ท่านภราเธอร์ได้บอกกับข้าพเจ้าว่า “หนังสือนี้ อั๊วแปลถวายในกรมดำรงไป เพราะรักใคร่ชอบพอกัน แต่ว่ามาตอนหลัง ทางหอพระสมุดเก็บเอาไปพิมพ์ออกมาจำหน่าย คำเดียวเขาก็ไม่บอกให้อั๊ว จะปรึกษาหารือ จะขอลิขสิทธิ์หรืออะไร เขาก็ไม่ทำสักอย่าง จู่ ๆ เขาก็พิมพ์ออกมาขาย แต่อั๊วก็ไม่ว่าอะไร เพราะเป็นการเผยแพร่ความรู้” ซึ่งถ้าจะพูดไปแล้ว เรื่องนี้ก็น่าเห็นใจ ถ้าเป็นคนอื่นก็คงโกรธมาก แต่ท่านภราเธอร์ฮีแลร์ท่านถือว่า ผลงานของท่านเป็นเรื่องเผยแพร่วิทยาการ ไม่เอาเรื่องกับใคร ทั้ง ๆ ที่เขาจะแสดงมารยาทอันดีงามต่อท่านสักนิดหน่อยก็ไม่มี แต่การกระทำอย่างไรไม่มีมรรยาทนี้ไม่เกี่ยวข้องกับสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ เพราะมาทำกันภายหลัง พ.ศ. ๒๔๗๕ ซึ่งเป็นสมัยซึ่งสมเด็จกรมพระยาฯ ได้ทรงพ้นจากตำแหน่งแห่งหนทางราชบัณฑิตยสภาไปแล้ว

ไหน ๆ ก็ได้พล่ามมาเสียนาน นอกเรื่องนอกราวของคุณพระเจนดุริยางค์ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็เพราะเหตุว่า ในบทความที่ ๓๑ ของหนังสือ “โกษาปานไปฝรั่งเศส” ของหอสมุดแห่งชาติ มีข้อความว่า

“ก่อนที่จะกล่าวถึงการที่ราชทูตไปดูละคร ข้าพเจ้าจะขอโอกาสกล่าวถึงความเป็นไปตอนเช้าวันที่ได้ไปนั้นบ้างว่า นายลีลี เจ้ากรมมหรสพ ได้ออกมาเยี่ยมราชทูตไทยยังที่พัก เมื่อเจ้าคุณราชทูตได้ทราบว่า ท่าน

– 7 –