หน้า:พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ - ๒๔๗๗.pdf/92

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๕๖

ล่า ที่ ๖ บุญมา ที่ ๗ ญาติพี่น้องฝ่ายบิดามารดามีเป็นอันมากเป็นตระกูลใหญ่ พระยากาวิละขอเอาน้อยธรรมเป็นพระยาอุปราช ขอเอาพุทธสาร ญาติฝ่ายข้างมารดา เป็นพระยาราชวงศ์

ฝ่ายเมืองนครลำปางนั้น โปรดฯ ให้คำโสม น้องคนที่ ๒ เป็นเจ้าเมือง ให้ดวงทิพ น้องที่ ๔[1] เป็นอุปราช แลญาติพี่น้องก็แต่งตั้งขึ้นเป็นที่ฐานันดรครบตำแหน่งที่ แล้วโปรดฯ ตั้งคำฟั่น น้องที่ ๕ เป็นเจ้าเมืองลำพูนขึ้น ตั้งบุญมา น้องที่ ๗ เป็นอุปราช ผู้คนยังเบาบางอยู่ จึงให้รออยู่ที่เมืองนครก่อน เกลี้ยกล่อมผู้คนได้มากแล้วจึงให้ไป

ครั้นถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จฯ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระยากาวิละเป็นพระเจ้าเชียงใหม่ ครั้นพระเจ้าเชียงใหม่ถึงแก่พิราลัยแล้ว น้อยธรรม ผู้น้องที่ ๓ ได้เป็นพระยาเชียงใหม่ ได้ช้างเผือกถวาย จึงโปรดฯ ให้เป็นพระเจ้าเชียงใหม่ ครั้นพระเจ้าเชียงใหม่ช้างเผือกถึงแก่พิราลัยแล้ว จึงโปรดฯ ให้คำฟั่น เจ้าเมืองลำพูน มาเป็นพระยาเชียงใหม่ ครั้นพระยาเชียงใหม่คำฟั่นถึงแก่กรรมแล้ว โปรดฯ ให้นายพุทธวงศ์ ซึ่งเป็นญาติกัน เป็นพระยาเชียงใหม่ ครั้นพระยาเชียงใหม่พุทธวงศถึงแก่กรรมแล้ว จึงโปรดฯ ให้นายหนาน


  1. ในพงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ว่า "ให้หมูล่า ผู้น้องที่ ๔ (๖?) เป็นพระยาราชวงศ์"