ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:พงศาวดารอีสาน - แข้ ประทุมชาติ - ๒๔๗๒.pdf/15

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๐

พระเจ้าอยู่หัวกรุงเทพฯ โปรดเกล้าฯ ให้ท้าวฝ่ายหน้า ท้าวคำผง และท้าวสิง เป็นแม่ทัพใหญ่ คุมกำลังหัวเมืองฝ่ายตะวันออกไปรบจามสมมุติเซียงแก้วเขาโองมีชัยชะนะแล้ว ท้าวฝ่ายหน้าจึงตามจับได้ตัวเจ้านครจำปาศักดิ์ที่หนีกองทัพ จามสมมุติเซียงแก้วเขาโองไปพึ่งอยู่กับข่าพะนัง คุมลงไปส่งกรุงเทพฯ โปรดเกล้าฯ ให้ท้าวฝ่ายหน้าเป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ ให้ท้าวสิงเป็นที่เจ้าราชวงศ์ ขึ้นมาครอบครองอยู่เมืองนครจำปาศักดิ์ แล้วเจ้านครจำปาศักดิ์ให้เจ้าราชวงศ์ไปอยู่เมืองเชียงของ

ครั้นถึงปีขาล[1] ศักราช ๑๑๔๗ เจ้านครจำปาศักดิ์จึงบอกขอรับพระราชทานให้ท้าวทิดพรมเป็นเจ้าเมือง ท้าวก่ำเป็นอุปฮาด โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสัญญาบัตรตั้งท้าวทิดพรมเป็นที่พระพรหมวงษา เจ้าเมือง ท้าวก่ำเป็นอุปฮาด ยกบ้านแจะละแมขึ้นเป็นเมืองอุบล เป็นข้าหลวงเดิม ผูกส่วยน้ำรัก ๒ เลขต่อเบี้ยป่าน ๒ เลขต่อขอด

ครั้นถึงปีมะโรง นพศก[2] ศักราช ๑๑๖๙ อุปฮาด (ก่ำ) ออกจากเมืองอุบล ไปตั้งอยู่บ้านโคกกงดงพะเนียงริมแม่น้ำโขง แล้ว


  1. ปีขาล ที่ว่า ปีขาล ศักราช ๑๑๔๗ นั้น ถ้าเป็นจุลศักราช ๑๑๔๗ แล้ว ต้องเป็นปีมะเส็ง
  2. ปีมะโรง นพศก ที่ว่า ปีมะโรง นพศก ศักราช ๑๑๖๙ นั้น ถ้าเป็นจุลศักราช ๑๑๖๙ แล้ว ต้องเป็นปีเถาะ