หน้า:พงศาวดาร (จาด) - ๒๕๐๒.pdf/3

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

นั้น ให้คัดเข้าดัวยกันเป็นแห่งเดียว ให้ระดับศักราชกันมาคุงเท่าบัดนี้"

พระราชพงศาวดารฉบับนี้ ความขึ้นต้นแต่แรกสถาปนาพระพุทธรูปพระเจ้าแพนงเชิงเมื่อปีชวด จุลศักราช ๖๘๖ (พ.ศ. ๑๘๖๗) และแรกสร้างกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยาเมื่อปีขาล จุลศักราช ๗๑๒ (พ.ศ. ๑๘๙๓) สืบมาจนถึงปีมะโรง จ.ศ. ๙๖๖ (พ.ศ. ๒๑๔๗) ตอนปลายรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พิมพ์แล้วอยู่ในหนังสือประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๑

ต่อมาในชั้นกรุงเก่านั้นเอง เห็นจะเป็นในแผ่นเินสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ มีรับสั่งให้แต่งพระราชพงศาวดารขึ้นอีกฉบับหนึ่ง คือ

(๒) พระราชพงศาวดาร ฉบับจำลอง จ.ศ. ๑๑๓๖ (พ.ศ. ๒๓๑๗) กรมศิลปากรได้ปลีกมาเป็นสมุดไทยเล่ม ๑ เป็นฉบับหลวงเขียนครั้งกรุงธนบุรี ว่าด้วยเรื่องราวตอนปลายรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ สำนวนแต่งใกล้เกือบจะถึงสำนวนในฉบับหลวงประเสริฐ พิมพ์แล้วอยู่ในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๔

และ (๓)  พระราชพงศาวดาร ฉบับจำลอง จ.ศ. ๑๑๔๕ (พ.ศ. ๒๓๒๖) เป็นฉบับปลีก รวม ๒ เล่มสมุดไทย เขียน