หน้า:พงศาวดาร - ศธ (๑) - ๒๔๔๔.pdf/12

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
คำนำ

พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ อธิบดีกรมศึกษาธิการเมื่อ ร,ศ, ๑๑๔ ได้ทรงตั้งหลักสูตร์สำหรับการสอบไล่วิชาภาษาไทยตามพระราบัญญัติ์การสอบวิชา ร,ศ, ๑๐๙ แบ่งประโยคออกเปนประโยคละ ๓ ชั้น มาเมื่อ ร,ศ, ๑๑๘ ประโยค ๓ แบ่งเปน ๔ ชั้น ในประโยค ๒ ชั้น ๒ ชั้น ๓ ใช้พระราชพงษาวดารพิสดาร เล่ม ๑ เล่ม ๒ เปนหนังสืออ่าน แต่ประโยค ๓ ชั้น ๑ นั้นยังไม่มีหนังสือสำหรับอ่าน จึงโปรดเกล้าฯ ให้แบ่งพระราชพงษาวดารพิสดารออกเปน ๓ ภาค ๆ ละเล่ม ๆ ละชั้น เล่ม ๓ ใช้ในประโยค ๓ ชั้น ๑ ตามหลักสูตร์ของกรมศึกษาธิการ ในเล่ม ๑ นั้นแบ่งตั้งแต่แผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ พระเจ้าอยู่หัวอู่ทองมาจนแผ่นดินสมเด็จพระสรรเพที่ ๗ พระศรีสุธรรมราชา เล่ม ๒ ตั้งแต่แผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๓ พระนารายน์มหาราช จนถึงแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาที่ ๓ พระที่นั่งสุริยามรินทร์ ในเล่ม ๓ ตั้งแต่แผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ พระเจ้าตากสิน แลมาจนแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์

แต่หนังสือพระราชพงษาวดารพิสดารนั้นเปนหนังสือเก่า ยังไม่ได้ชำระต้นฉบับ ซึ่งใช้อักษรเคลื่อนคลาดขาดตกบกพร่องมาก พาให้ฟั่นเฟือนแก่นักเรียนจะเขียนอ่าน กรมศึกษาธิการจึ่งได้ชำระตรวจแก้อักษรที่ผิดแลขาดตกบกพร่องนั้นให้ตรงตามวิธีเรียนของกรมศึกษาธิการ แลศัพท์ที่ยากก็แปลกำกับไว้ข้างท้ายพอเปนทางเข้าใจของนักเรียน กับได้เทียบเคียงบางเรื่องที่เคลื่อนคลาดให้ตรงตามพระราชพงษาวดารสังเขปที่กรมศึกษาธิการได้ชำระแล้วนั้น

 การที่จะเรียนหนังสือพระราชพงษาวดารนี้มีความรู้ที่จะชี้ไว้ให้ครูฝึกหัดนักเรียน ใช่แต่อ่านอย่างเดียว ใช้เขียนตามคำบอกก็ได้

 ครูจะหัดให้นักเรียนเรียงความก็ได้ ถ้าอ่านถึงเรื่องตรงใด