ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:พงศาวดาร - ศธ (๑) - ๒๔๔๔.pdf/16

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
ดำเนินความ

นัดดานั้น, ให้แก่นายแสนปม, แล้วให้ลงแพลอยไปจากเมือง ครั้นแพลอยลงไปถึงที่ไร่มเขือ, นายแสนปมก็พาบุตร์ภรรยาขึ้นอยู่บนห้างอันเปนที่อาไศรย. ด้วยบุญญานุภาพของชนทั้งสาม, ก็บันดานร้อนถึงสมเด็จอำมรินทราธิราช, จึ่งนฤมิตร์พระกายเปนวานร, ถือเอากลองทิพย์มาส่งให้แก่นายแสนปม. แล้วตรัสบอกว่า ถ้าท่านจะปราถนาสิ่งใด, จงตีเภรีนี้ อาจให้สำเร็จความปราถนาทุกประการ. แล้ววานรก็หายไปในที่เฉพาะหน้า, นายแสนปมก็แจ้งว่า เทพยุดานำเอากลองทิพย์มาให้ มีความยินดีนัก จึ่งตีกลองเข้า ปราถนาจะให้รูปงาม, แลปมเปาทั้งปวงนั้นก็หายสิ้น, รูปกายก็งามบริสุทธิ์. จึ่งนำเอากลองทิพย์ไปสู่สำนักแล้วบอกเหตุ์แก่ภรรยา. นางนั้นก็มีความโสมนัศ, จึ่งตีกลองนฤมิตร์ทองธรรมชาติ์ให้ช่างทอง, ทำอู่ทองให้โอรสไสยาศน์. เหตุ์ดังนั้น พระราชกุมารจึ่งได้นามปรากฏ, ว่า เจ้าอู่ทอง จำเดิมแต่นั้นมา.

ลุศักราช ๖๘๑ ปีมแม เอกศก, จึงบิดาเจ้าอู่ทองราชกุมารก็ตีทิพย์เภรีนฤมิตร์เปนพระนครขึ้นในที่นั้น. มีทั้งปราการเชิงเทินป้อมต้ายค่ายคูประตูหอรบครบบริบูรณ์ทุกสิ่ง. พร้อมทั้งพระราชวังบวรนิเวศน์สถาน. จึงตั้งนามว่า. เมืองเทพนคร เหตุ์สำเร็จด้วยเทวานุภาพ. ครั้งนั้น ประชาชนทั้งหลาย. ชักชวนกันมาอาไศรยตั้งบ้านเรืออยู่. ในพระนครนั้นเปนอันมาก. เมืองนั้นก็มั่งคั่งสมบูรร์ด้วยอาณาประชาราษฎร. แลบิดาเจ้าอู่ทองก็ได้ครองราชสมบัติในเมืองเทพนครนั้น ทรงนาม สมเด็จพระเจ้าศิริไชยเชียงแสน. บันฦๅพระเกียริยศปรากฎในสยามประเทศนี้. ๚ะ๛