ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:พงศาวดาร - ศธ (๑) - ๒๔๔๔.pdf/36

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
หมายเหตุลำดับรัชกาล

แผ่นดินเจ้าฟ้าพร ซึ่งเรียกว่า พระเจ้าอยู่หัวบรมโกฏ.

ลุศักราช ๑๐๙๔ ปีชวด จัตวาศก, เสด็จสวรรคต พระชนม์ได้ห้าสิบสองพรรษา, อยู่ในราชสมบัติยี่สิบเจ็ดปี. ตรัสมอบราชสมบัติให้แก่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าอไภย, พระชนม์สิบแปดพรรษา. สมเด็จพระมหาอุปราชมิยอม. ทำสงครามกันกับเจ้าฟ้าอไภยราชนัดดา, ตั้งค่ายฝ่ายละฟากฝั่งคลองประตูเข้าเปลือกภายในพระนคร. แต่ทำศึกกันอยู่สองเดือน, เจ้าฟ้าอไภยพ่ายแพ้ลงเรือพระที่นั่งกับทั้งเจ้าฟ้าปรเมศวรพากันหนีไป. ดำรัสให้ข้าหลวงไปติดตามจับมาได้ทั้งสององค์พี่น้อง, ให้สำเร็จโทษเสีย. สมเด็จพระมหาอุปราช, คือ เจ้าฟ้าพร, ซึ่งเรียกว่า พระเจ้าอยู่หัวบรมโกฎ นั้น, ได้เสวยราชสมบัติ, พระชนม์ได้ ๔๙ พรรษา. จึ่งโปรดให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรเปนกรมขุนเสนาพิทักษ์, เจ้าฟ้าเอกทัตเปนกรมขุนอนุรักษมนตรี, พระองค์เจ้าแขกเปนกรมหมื่นเทพพิพิธ พระองค์เจ้ามังคุตเปนกรมหมื่นจิตรสุนทร, พระองค์เจ้ารถเปนกรมหมื่นสุนทรเทพ. ครั้งหลังจึ่งตั้งเจ้าฟ้าดอกเดื่อเปนกรมขุนพรพินิต, พระองค์เจ้าปานเปนกรมหมื่นเสพภักดี แล้วตั้งเจ้าฟ้ากรมขุนเสนาพิทักษ์เปนพระมหาอุปราช.

ลุศักราช ๑๑๐๙ ปีเถาะ นพศก, ได้ข่าวพืชทองคำเกิดตำบลบางสพานแขวงเมืองกุยบุรี จึ่งดำรัสให้ข้าหลวงคุมไพร่ออกไปร่อน, ได้เนื้อทองเข้ามาถวาย ๙๐ ชั่งเสศ

ลุศักราช ๑๑๑๕ ปีรกา เบ็ญจศก, พระเจ้าลังกาแต่งทุตานุทูตจำทูลพระราชสาสนเข้ามา, ขอพระสงฆ์ออกไปตั้งพระพุทธสาศนาในลังกาทวีป, จึ่งดำรัสให้นิมนต์พระอุบาลี, พระ