หน้า:พจนานุกรมกฎหมาย - สมาหารหิตะคดี - ๒๔๗๔.pdf/15

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๐
กรรมการฎีกา

เป็นต้น และคนที่มีหน้าที่ตัดสินกรณีย์หรือพฤติการณ์อย่างใด ๆ เช่น กรรมการของศาลทหาร, กรรมการจัดการกิฬา เป็นอาทิ

กรรมการฎีกา  ผู้พิพากษาศาลฎีกา ผู้พิพากษาศาลนี้ที่จะเป็นองค์คณะตรวจตัดสินฎีกาได้ต้องมีไม่น้อยกว่า ๓ คน
กรรมสิทธิ์  อำนาจแห่งความสำเร็จเด็ดขาดในการที่จะยึดถือ ใช้ เก็บประโยชน์ ซื้อ ขาย จำหน่าย หรือทำลายทรัพย์นั้นได้ เมื่อไม่มีกฎหมายห้าม
 กรรมสิทธิ์เกิดขึ้นได้ดังนี้—
 (๑) โดยเข้ายึดถือ
 (๒) โดยอายุความ
 (๓) โดยทำขึ้น
 (๔) โดยเป็นส่วนหนึ่งแห่งของเดิม
 (๕) โดยเจ้าของโอนให้
 (๖) โดยทางมฤดก
 อำนาจกรรมสิทธิ์นี้ ตามธรรมดาย่อมมีอยู่แก่เจ้าของกรรมสิทธิ์เสมอไป เว้นไว้แต่—
 (๑) เจ้าของสละ เช่น ขายทรัพย์ให้แก่ผู้อื่นโดยถูกต้องตามกฎหมาย อำนาจกรรมสิทธิ์นี้ขาดทันที