หน้า:พญาระกา (คำพิพากษา) - ดำรงราชานุภาพ และอื่น ๆ - ๒๔๕๓.pdf/11

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
36

ข้อ  เมื่อเอาโคลงความเรื่องภักตร หม่อมลคร กับเรื่องปักษีปกรณัม ตอนพิศมาตุคาม เทียบกัน เห็นได้ชัดว่า โคลงความตรงกันทั้ง ๒ เรื่อง ข้อนี้ กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงษ์ได้ชี้แจงว่า การที่แต่งบทลครหรือหนังสือเรื่องใด ๆ ยากที่จะป้องกันความเข้าใจแลถือใจของบุคคลได้ทั่วไป ไม่ว่าเรื่องที่แต่งมาแต่โบราณหรือเรื่องแต่งใหม่ อาจจะมีผู้เห็นว่า ใส่ร้ายตนได้ตามความเข้าใจของคนนั้น ๆ แลเรื่องปักษีปกรณัมที่กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงษ์แต่งนี้ก็มีที่ผิดเพี้ยนอันอาจจะแลเห็นได้ว่า ไม่ตรงกับเรื่องที่ภักตรหนีอยู่หลายแห่ง ยกตัวอย่างดังที่ว่า พญานกเค้าแมวมีนางลครระบำในตอนสงครามนกเค้าแมวนั้น กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์ก็ไม่มีละเม็งลครแลนางระบำอะไร แลไม่ได้ประชุมกับผู้ใดซึ่งจะตรงกับพวกกบเขียด ค้างคาว จะว่าแต่งเรื่องนี้เปรียบเทียบกรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์อย่างไร การที่กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงษ์คัดค้านดังนี้ก็เพื่อประโยชน์ในการแก้คดีของกรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงษ์ แต่ความจริงข้อที่จะเปนว่าผู้ใดหรือไม่นั้นอยู่ในหน้าที่ของตุลาการที่จะพิจารณาจะพิเคราะห์ลงเนื้อเห็นต่างหาก ผู้ที่รู้ศึกว่า ถูกหมิ่นประมาท หาได้มีอำนาจที่จะชี้ขาดโดยลำพังตนไม่ อีกประการหนึ่ง ที่จะแก้ว่า ในหนังสือเรื่องเดียวกัน ถ้าในตอนหนึ่งเรื่องไม่ได้เทียบด้วยเรื่องภักตรหนีแล้ว ตอนอื่นก็ไม่ได้เทียบด้วยฉนี้ ไม่เปนข้อความที่ควรจะฟังได้ แท้จริงในเรื่องที่ภักตร หม่อมลคร หนีนั้น ความเคืองแค้นของกรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงษ์ที่มาสามารถจะเอาตัวภักตรกลับคืนมาไว้ในอำนาจได้ดังพยายามก็พอจะแลเห็นกรณีเหตุแลเจตนาในการที่แต่งบทลครตอนพิศมาตุคามอยู่ชั้นหนึ่ง แลความในบทลครตอนพิศมาตุคามนั้น