หน้า:พญาระกา (คำพิพากษา) - ดำรงราชานุภาพ และอื่น ๆ - ๒๔๕๓.pdf/15

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
40

ในจดหมายอย่างใด ๆ ก็ดี เพราะฉนั้น แม้แต่เขียนจดมหายอันเปนความหมิ่นประมาทด้วยลายมือส่งไปให้ผู้อื่นได้อ่านรู้ความจดหมายนั้นแต่สองคนขึ้นไป ต้องเปนโฆษนาตามความในกฎหมายมาตรานี้ ไม่จำจะต้องรอไว้จนถึงหนังสือนั้นได้ออกจำหน่ายจึงจะเปนโฆษนา การที่กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงษ์ได้ส่งหนังสือเรื่องปักษีปกรณัมไปให้โรงพิมพ์ตีพิมพ์นั้นพออยู่แล้วที่จะถือว่า เปนโฆษนาตามความในประมวญกฎหมายอาญา เพราะได้เขียนลงเปนจดหมาย แลในการพิมพ์ต้องมีผู้ได้รู้เห็นอ่านกว่าสองคนขึ้นไป ใช่แต่เท่านั้น ยังมีความปรากฎว่า หนังสือเรื่องนี้ได้มีผู้อื่นได้ไปอ่านอีก ถึงกรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงษ์แก้ว่า เพราะเจ้าของโรงพิมพ์หากให้ไปโดยกรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงษ์ไม่ได้อนุญาตเหมือนอย่างผู้ร้ายลักไป ถ้าจะยอมข้อความอย่างที่กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงษ์แก้นี้เปนข้อแก้ตัว ก็จะต้องยอมถึงหากว่า ผู้ใด ๆ เขียนข้อความอันเปนข้อหมิ่นประมาทแล้วเที่ยวจงใจหรือละเลยวางทิ้งไว้ มีผู้อื่นไปพบเห็นรู้ความโดยผู้เขียนไม่ได้อนุญาต จะไม่เปนหมิ่นประมาทได้ด้วย ความผิดที่สำคัญอยู่ในชั้นที่กล่าวหรือเขียนคำอันหมิ่นประมาทผู้อื่น ถ้าผู้ที่ไม่อยากเปิดแล้ว ก็ไม่ควรจะกล่าวหรือไม่ควรจะเขียนทีเดียว ถ้าได้กล่าวหรือได้เขียนไปแล้ว ความผิด ๆ กันแต่เพียงมากแลน้อย หาเปนเหตุที่จะลบล้างเพราะผู้อื่นรู้โดยได้รับอนุญาตหรือไม่ได้รับอนุญาตไม่ ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้าฯ พร้อมกันว่า กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงษ์มีความผิดถานหมิ่นประมาทด้วยโฆษนาด้วยจดหมาย

ในกฎหมายอาญา มาตรา ๒๘๓ ในหมวด ๓ มีข้อยกเว้นไม่เอาโทษแก่ผู้แสดงความคิดความเห็นของตนซึ่งคิดเห็นโดยสุจริต