หน้า:พรบ กรรมสิทธิ์ผู้แต่งหนังสือ รศ ๑๒๐.pdf/1

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
เล่ม ๑๘ น่า ๒๘๖
วันที่ ๑๘ สิงหาคม ๑๒๐
ราชกิจจานุเบกษา

ตราราชโองการ
ตราราชโองการ
พระราชบัญญัติ
กรรมสิทธิ์ผู้แต่งหนังสือ

มีพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปลมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรัสเหนือเกล้าฯ ให้ประกาศจงทราบทั่วกันว่า ทุกวันนี้ เมื่อมีผู้ใดได้อุสาหะแต่งหนังสือขึ้นด้วยสติปัญญาแลวิชาความรู้ของตนเพื่อพิมพ์จำหน่ายให้เกิดผลประโยชน์ ถ้าหนังสือเรื่องใดจำหน่ายได้มาก ก็มักมีผู้อื่นบังอาจเอาหนังสือเรื่องนั้นไปพิมพ์ขึ้นขายโดยพลการ กระทำให้เสื่อมทรามผลประโยชน์ซึ่งสมควรจะได้แก่ผู้แต่งโดยความชอบธรรม มีอยู่เนือง ๆ แลการอย่างนี้ ในนา ๆ ประเทศโดยมากย่อมมีกฎหมายห้ามปรามไม่ให้ผู้อื่นลอกคัดหรือพิมพ์จำหน่ายหนังสือซึ่งผู้แต่งมิได้อนุญาต ทรงพระราชดำริห์เห็นว่า สมควรจะมีพระราชบัญญัติตั้งขึ้นไว้ในพระราชอาณาจักร์สำหรับคุ้มครองป้องกันผลประโยชน์ของผู้แต่งหนังสือตามสมควรแก่ยุติธรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติไว้สืบไปดังนี้ว่า

หมวดที่ ๑ ว่าด้วยนาม
แลกำหนดใช้พระราชบัญญัติ

มาตรา  พระราชบัญญัตินี้ให้มีนามว่า, "พระราชบัญญัติกรรมสิทธิ์ผู้แต่งหนังสือ ร,ศ, ๑๒๐"

มาตรา  ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันที่ได้ประกาศเปนต้นต่อไป

หมวดที่ ๒ ว่าด้วยกรรมสิทธิ์

มาตรา  ผู้ใดได้แต่งหนังสือรวมเปนเล่มก็ดี หรือเปนแต่ส่วนของเล่มก็ดี ถ้าได้กระทำถูกต้องตามความในพระราชบัญญัตินี้แล้ว ให้ผู้นั้นมีกรรมสิทธิ์ในหนังสือที่ตนได้แต่งนั้นเหมือนกับทรัพย์สมบัติของตน

มาตรา  ผู้มีกรรมสิทธิ์ในหนังสือเรื่องใด มีอำหนาจที่จะพิมพ์ จะคัด จะแปลเปนภาษาอื่น แลจำหน่ายหรือขายหนังสือที่ตนมีกรรมสิทธิ์นั้นได้แต่ผู้เดียว ผู้อื่นที่มิได้รับอนุญาตจากผู้มีกรรมสิทธิ์ จะพิมพ์ หรือจะคัด จะแปลเปนภาษาอื่น แลจะจำหน่ายหรือขายหนังสือนั้นไม่ได้

มาตรา  ให้กรรมสิทธิ์คงอยู่ตลอดอายุของผู้แต่งหนังสือ แลคงต่อไปตั้งแต่วันที่ผู้แต่งถึงมรณภาพอีก ๗ ปี แต่ถ้าหนังสือเรื่องใด นับแต่วันที่ผู้แต่งได้รับกรรมสิทธิ์จนสิ้น ๗ ปี ภายหลังผู้แต่งมรณภาพ รวมเวลากรรมสิทธิ์ไม่ถึง ๔๒ ปีไซ้ ก็ให้กรรมสิทธิ์คงอยู่ต่อไปจนนับรวมได้ ๔๒ ปีตั้งแต่วันที่ได้รับกรรมสิทธิ์หนังสือเรื่องนั้น จึงให้สิ้นอายุกรรมสิทธิ์

มาตรา  หนังสือเรื่องใด ถ้าผู้แต่งถึงมรณภาพก่อนได้รับกรรมสิทธิ์ ถ้าผู้รับมรฎกนำมาขอกรรมสิทธิ์ภายในกำหนด ๑๒ เดือน