หน้า:พรบ กรรมสิทธิ์ผู้แต่งหนังสือ รศ ๑๒๐.pdf/3

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
เล่ม ๑๘ น่า ๒๘๘
วันที่ ๑๘ สิงหาคม ๑๒๐
ราชกิจจานุเบกษา

พนักงาน เมื่อเจ้าพนักงานเห็นเปนการถูกต้องแล้ว ก็ให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้นั้น ต่อเมื่อได้จดโอนในทะเบียนแล้ว ผู้รับโอนจึงจะมีอำนาจในกรรมสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้

 มาตรา ๑๕ บรรดาหนังสือที่มีกรรมสิทธิ์ ผู้มีกรรมสิทธิ์จะต้องถวายไว้สำหรับหอหลวงฉบับ ๑ หอพระสมุดวชิรญาณฉบับ ๑ แลหอพุทธสาสนสังคหะฉบับ ๑

หมวดที่ ๔ ว่าด้วยล่วงกรรมสิทธิ์

 มาตรา ๑๖ บรรดาหนังสือที่มีกรรมสิทธิ์อยู่นั้น ห้ามมิให้ผู้ใดลอกคัด หรือแปลเปนภาษาอื่น หรือพิมพ์จำหน่าย โดยหาผลประโยชน์ก็ดี หรือไม่หาผลประโยชน์ก็ดี แลห้ามมิให้ผู้ใดช่วยจำหน่ายหนังสือซึ่งคัดลอก หรือแปล หรือพิมพ์โดยผิดกฎหมายเช่นนั้น เว้นไว้แต่เมื่อได้รับหนังสืออนุญาตของผู้มีกรรมสิทธิ์ยอมให้ทำ จึงทำได้ ถ้าผู้ใดกระทำผิดตามที่ว่ามาในมาตรานี้ ผู้นั้นมีความผิดถานล่วงกรรมสิทธิ์ ผู้มีกรรมสิทธิ์มีอำนาจที่จะฟ้องเรียกสินไหมเปนค่าเสียหายหรือค่าธรรมขวัญได้ตามสมควร แลบรรดาหนังสือซึ่งได้พิมพ์ขึ้นโดยล่วงกรรมสิทธิ์ ให้ถือว่า เปนทรัพย์ของผู้มีกรรมสิทธิ์ ๆ มีอำนาจที่จะฟ้องเรียกริบเอาจากผู้ใดใดซึ่งยึดถือหนังสือนั้นไว้ ถ้าขัดขืนไม่ส่งให้ ก็ให้ฟ้องเรียกสินไหมค่าเสียหายหรือค่าทำขวัญหรือเปนเลมิดอำนาจศาลได้

หมวดที่ ๕ ว่าด้วยค่าธรรมเนียม
 มาตรา ๑๗ ให้เรียกค่าธรรมเนียมจดทะเบียนกรรมสิทธิ์หนังสือ เรื่องละ ๕ บาท ค่า
โอนกรรมสิทธิ์ เรื่องละ ๕ บาท เปนกำหนดค่าธรรมเนียมดังนี้ ให้เรียกจากผู้ขอกรรมสิทธิ์หรือผู้ขอโอนกรรมสิทธิ์

 มาตรา ๑๘ ให้เจ้ากรมพระอาลักษณ์เปนผู้รักษาแลจัดการให้เปนไปตามพระราชบัญญัตินี้

 ประกาศมาณวันที่ ๒ สิงหาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๐ เปนวันที่ ๑๑๙๖๒ ในรัชการปัตยุบันนี้

ประกาศกระทรวงเกษตราธิการ
เรื่อง ที่ดินตำบลคลองซอยที่ ๓, ๔, ๕, ๖, ๗, ๘, ๙, ฝั่งใต้คลองรังสิต แลคลองซอยที่ ๑๒, ๑๓, ฝั่งใต้คลองหกวาสายล่าง

 ขอแจ้งความให้ทราบทั่วกันว่า บริษัทขุดคลองแลคูนาสยามได้ยื่นหนังสือต่อกระทรวงเกษตราธิการขอรับตราจองสำหรับที่ดินตำบลคลองซอยที่ ๓, ๔,, ๕ ๖, ๗, ๘, ๙, ฝั่งใต้คลองรังสิต, ตั้งแต่พ้นเฃตร์ที่ดินคลองรังสิต, จนถึงเฃตร์ที่ดินคลอง ๖ วาสายล่าง คือ

 คลองซอยที่ ๓ ยาวประมาณ ๑๑๐ เส้น,

 คลองซอยที่ ๔ ยาวประมาณ ๑๑๐ เส้น,

 คลองซอยที่ ๕ ยาวประมาณ ๑๓๓ เส้น,

 คลองซอยที่ ๖ ยาวประมาณ ๑๕๐ เส้น,

 คลองซอยที่ ๗ ยาวประมาณ ๑๘๗ เส้น,

 คลองซอยที่ ๘ ยาวประมาณ ๑๘๖ เส้น,

 คลองซอยที่ ๙ ยาวประมาณ ๑๙๑ เส้น,

 แลคลองซอยที่ ๖๑ ฝั่งใต้คลอง ๖ วาสายล่าง ตั้งแต่พ้นเฃตร์คลองหกวาสายล่างจนถึงที่สุดคลอง ยาวประมาณ ๑๕๒ เส้น, แลคลองซอยที่ ๑๓ ฝั่งใต้