หน้า:พรบ ความร่วมมือฯ สิทธิควบคุมดูแลเด็ก ๒๕๕๕.pdf/3

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๒ ก

๙ มกราคม ๒๕๕๖
หน้า ๓
ราชกิจจานุเบกษา

(๘) ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายของประเทศไทยในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้

(๙) ดำเนินการเพื่อให้มีการส่งตัวเด็กกลับคืนหรือเพื่อให้การใช้สิทธิในการพบและเยี่ยมเยียนเด็กเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

(๑๐) จัดให้มีพนักงานอัยการ ทนายความ หรือที่ปรึกษากฎหมาย เพื่อให้มีการส่งตัวเด็กกลับคืนหรือเพื่อให้การใช้สิทธิในการพบและเยี่ยมเยียนเด็กเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

(๑๑) ดำเนินการอย่างอื่นเพื่อให้การให้หรือการขอความช่วยเหลือตามพระราชบัญญัตินี้บรรลุผล

การดำเนินการของผู้ประสานงานกลาง ต้องกระทำโดยรวดเร็ว โดยถือประโยชน์ของเด็กเป็นสำคัญ และคำนึงถึงความเป็นไปได้ที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องขอหรือไม่ตามมาตรา ๑๓ ด้วย

หมวด ๒
การให้ความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศ


ส่วนที่ ๑
การขอความช่วยเหลือ


มาตรา  ผู้อ้างว่าถูกละเมิดสิทธิควบคุมดูแลเด็กอาจขอให้ส่งตัวเด็กซึ่งถูกพาตัวมาหรือกักตัวไว้ในประเทศไทยกลับคืนสู่ถิ่นที่อยู่ปกติแห่งสุดท้ายของเด็กในต่างประเทศก่อนถูกพาตัวมาหรือกักตัวไว้ โดยยื่นคำร้องขอต่อผู้ประสานงานกลางของประเทศที่เด็กมีถิ่นที่อยู่ดังกล่าวหรือต่อผู้ประสานงานกลาง ทั้งนี้ ตามระเบียบที่ผู้ประสานงานกลางกำหนด

คำร้องขอความช่วยเหลือจะต้องระบุ

(๑) ข้อมูลเกี่ยวกับหลักฐานแสดงตัวบุคคลของผู้ร้องขอ ของเด็ก และของผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้พาเด็กมาหรือกักตัวเด็กไว้

(๒) วัน เดือน ปีเกิดของเด็ก ในกรณีที่มี

(๓) เหตุผลที่สนับสนุนคำร้องขอ

(๔) ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่อยู่ของเด็ก และข้อมูลแสดงตัวบุคคลที่น่าเชื่อว่าเด็กไปอยู่ด้วย

(๕) เอกสารหลักฐานอื่นตามระเบียบที่ผู้ประสานงานกลางกำหนด