หน้า:พรบ จัดการ ศย ๑๑๑.pdf/4

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
เล่ม ๑๐
๓๔
ราชกิจจานุเบกษา

ข้อ  ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน รัตนโกสินทร์ ๑๑๒ เปนต้นไป ให้ราษฎรทั้งหลายผู้มีอรรถคดีซึ่งเปนความแพ่ง ความอาญา แลความอุทธรณ์ มาฟ้องต่อศาลสนามสถิตย์ยุติธรรมศาลใดศาลหนึ่งสุดแต่มูลคดีของตนจะเปนกระทรวงของศาลนั้นได้พิจารณาตามพระธรรมนูญ แลให้บรรดาศาลทั้งปวงณสนามสถิตย์ยุติธรรมตั้งจ่าศาลไว้เปนเจ้าพนักงานรับฟ้องสำหรับศาลจงทุก ๆ ศาล เพื่อได้รับฟ้องของราษฎรผู้มีอรรถคดีแลนำขึ้นเสนอต่อผู้พิพากษาศาลนั้นจะได้ตรวจแลสั่งประทับให้เปนฟ้องได้ตามพระธรรมนูญ

ข้อ  ราษฎรทั้งหลายผู้มีอรรถคดีจะปฤกษาหาฤๅผู้รู้กฎหมายให้เรียบเรียงแต่งฟ้องให้ตนตามมูลคดีที่ตนเชื่อว่าเปนความสัตย์จริงให้ถูกต้องชอบด้วยพระราชกำหนดกฎหมายก็ได้ แล้วให้นำมายื่นต่อศาล ฤๅจะมาให้การต่างฟ้องต่อจ่าศาลก็ได้ ให้จ่าศาลเรียบเรียงขึ้นเปนฟ้องให้ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ฟ้องฉบับใดซึ่งราษฎรผู้มีอรรถคดีให้ผู้รู้กฎหมายเรียบเรียงแต่งให้นั้นต้องให้ผู้แต่งแลผู้เขียนลงลายมือเขียนชื่อของตนมาในท้ายฟ้องด้วยตามความในประกาศว่าด้วยลงชื่อผู้แต่งผู้เขียนหนังสือฟ้องเรื่องราวแลฎีกา รัตนโกสินทร์ ๑๑๐

ข้อ  ในฟ้องทุก ๆ ฉบับนั้นต้องกล่าวข้อความดังนี้ คือ

(๑) นามศาลซึ่งโจทย์มายื่นฟ้อง

(๒) ชื่อตัวฤๅชื่อยศของโจทย์ กับสังกัดมูลนาย แลตำบลบ้านที่อยู่อาไศรย

(๓) ชื่อตัวฤๅชื่อยศของจำเลย กับสังกัดมูลนาย แลตำบลบ้านที่อยู่อาไศรยตามที่โจทย์สืบรู้ได้

(๔) สรรพเหตุการต่าง ๆ ซึ่งให้เกิดมูลคดีพิพาท เมื่อใดแล ณ ที่ใดให้กล่าวแต่ใจความให้ชัดเจน แลวแบ่งแยกออกเปนข้อหาเรียงเปนลำดับข้อ ๑ ข้อ ๒ ฯลฯ ไปแต่โดยสังเขป ซึ่งโจทย์เชื่อแน่แก่ใจว่า เปนความจริงอาจสืบพยานให้สมได้ในเวลาพิจารณา

(๕) ในท้ายฟ้อง ให้มีคำร้องขอให้ศาลพิจารณพิพากษาตัดสินประการใดตามกฎหมายแลยุติธรรมก็สุดแต่ความประสงค์ของโจทย์

ถ้าในฟ้องจะอ้างถึงสรรพหนังสือ เอกสารสำคัญ ฤๅสารบบบาญชีใด ๆ ก็ให้คัดสำเนาติดมากับท้ายฟ้อง ห้ามมิให้เขียนลงในฟ้องเปนอันขาด

ข้อ  ถ้าศาลตรวจดูฟ้องซึ่งโจทย์แต่งมาเองเห็นว่า มูลคดีที่กล่าวหาในฟ้องนั้นไม่เปนคดีอันควรรับไว้พิจารณา