หน้า:พรบ จัดการ ศย ๑๑๑.pdf/5

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๓๕
เล่ม ๑๐
ราชกิจจานุเบกษา

ตามกฎหมาย ก็ให้ตัดสินยกฟ้องเสียทีเดียว ไม่ต้องออกหมายเรียกจำเลยมาแก้คดี แลให้ค่าธรรมเนียมรับฟ้องเปนภัพแก่โจทย์ไป เว้นแต่ฟ้องที่โจทย์มาให้การต่างฟ้องต่อศาลซึ่งจ่าศาลเรียบเรียงแต่งให้นั้น ค่าธรรมเนียมรับฟ้องจึ่งไม่เปนภัพแก่โจทย์ ควรให้ศาลคืนให้แก่โจทย์ไป

ถ้าศาลตรวจดูฟ้องซึ่งโจทย์แต่งมาเองเห็นว่า มูลคดีที่กล่าวหาควรรับไว้พิจารณาได้ตามกฎหมายแล้ว แต่ข้อหายังบกพร่องอยู่ ฤๅกล่าวความไม่ชัดเจนเคลือบคลุมสงไสยประการใด ก็ให้ศาลคืนฟ้องให้โจทย์ไปแก้ไขเสียใหม่ให้ถูกต้องชัดเจนดีแล้วจึ่งรับไว้พิจารณา

ข้อ ๑๐ ถ้าศาลรับฟ้องไว้แล้ว โจทย์เพิกเฉยทิ้งฟ้องเสียไม่นำหมายเรียกจำเลยฤๅไม่ร้องตักเตือนให้ศาลออกหมายเรียกจำเลยแต่ในกำหนด ๑๕ วันนับตั้งแต่วันศาลรับฟ้องไว้เปนต้นไป ก็ให้ศาลตัดสินยกฟ้องเสีย แล้วให้โจทย์เสียค่าธรรมเนียมตัดสินจงเต็ม แต่ก่อนวันที่ศาลจะตัดสินยกฟ้องเสียนั้น ให้ศาลออกหมายบอกโจทย์ให้รู้ล่วงน่าเสีย ๓ วันก่อนว่า ถ้าโจทย์ไม่มานำหมายเรียกจำเลยฤๅขอให้ออกหมายเรียกจำเลยแต่ในกำหนดแล้ว ศาลก็จะตัดสินยกฟ้องเสียตามกฎหมาย แล้วให้โจทย์ค่าธรรมเนียมออกหมายนี้ด้วย

ข้อ ๑๑ ถ้าราษฎรสองฝ่ายต่างคนต่างมาฟ้องแย้งกล่าวโทษกันในศาลเดียววันเดียวกัน ก็ให้ศาลรับฟ้องไว้ทั้งสองฉบับรวมพิจารณาเปนคดีสำนวนเดียวกัน แล้วให้ศาลตรวจดูฟ้องฝ่ายใดควรเปนโจทย์ฝ่ายใดควรเปนจำเลย ก็ให้ปฤกษาตัดสินให้ฝ่ายหนึ่งเปนโจทย์ฝ่ายหนึ่งเปนจำเลยตามพระราชกำหนดกฎหมาย แต่ห้ามมิให้เอาฟ้องของฝ่ายจำเลยเปนคำให้การแก้ฟ้องของโจทย์เปนอันขาด ให้ฟ้องทั้งสองฉบับคงเปนฟ้องอยู่ตามเดิม แล้วให้ศาลบังคับให้โจทย์จำเลยทั้งสองฝ่ายต่างคนต่างให้การแก้ฟ้องกันเหมือนดังความสองสำนวนฉนั้น

ข้อ ๑๒ บันดาฟ้องที่กล่าวหาเปนความอาญาแล้ว ให้ศาลบังคับโจทย์ให้สาบาลตัวเสียก่อนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยบังคับโจทย์ให้สาบาลก่อนฟ้องความอาญา รัตนโกสินทร์ ๑๑๑ เว้นไว้แต่ความอาญาซึ่งเปนน่าที่ของกรมอัยการฟ้องเปนโจทย์เท่านั้น เจ้าพนักงานกรมอัยการผู้ฟ้องไม่จำเปนต้องสาบาลตามพระราชบัญญัติที่กล่าวชื่อมานี้ แต่ถ้ามีพยานคนใดคนหนึ่งผู้รู้ว่า มูลคดีที่กรมอัยการฟ้องหาเปนความอาญานั้นเปนความจริง เจ้าพนักงานกรมอัยการจะนำพยานผู้นั้นมาสาบาลเหมือนดังตัวโจทย์ก็ได้